ผนึกกำลังสถาบันวิชาการ เปิดบทเรียนโควิด-19 ท่าศาลาโมเดลเคสแรกเอาอยู่!

ผนึกกำลังสถาบันวิชาการ เปิดบทเรียนโควิด-19 ท่าศาลาโมเดลเคสแรกเอาอยู่!

พื้นที่ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช หนึ่งในเครือข่ายร่วมสร้างชุม ชนท้องถิ่นน่าอยู่ สนับสนุนโดยสำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสถาบันวิชาการคู่ความร่วมมือ โดย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ร่วมชูความพร้อม 5 องค์กร สกัดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ผศ.ดร.อุไร จเรประพาฬ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า หน่วยงานทั้ง 5 องค์กรในพื้นที่ นำโดย ท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล / โรงพยาบาลท่าศาลา เจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาคประชาชน องค์กรศาสนา โต๊ะอิหม่าม รวมทั้งสถาบันวิชาการในพื้นที่ ‘มหาวิทยาลัยวลัย ลักษณ์’ ได้ร่วมกันทำงาน มอบหมายหน้าที่ เพื่อไปปฏิบัติการในแต่ละภาคส่วน ตามเนื้องานที่ ตนเองถนัด ตามบทบาทของแต่ละภาคส่วน

พื้นที่เทศบาลตำบลท่าศาลา ถือเป็นพื้นที่แรกที่มีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเป็นเคสของนัก ศึกษาจากประเทศอิหร่านที่เดินทางกลับมาบ้าน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้เกิดความตื่นตัวของ ทุกภาคส่วน หลังทราบผลตรวจเป็นที่แน่ชัดว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และพาผู้ติดเชื้อเข้ารับการ รักษาที่โรงพยาบาลแล้ว ทางเทศบาลได้มีการปฏิบัติงานร่วมกับโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังรักษา โดยขณะนี้ผู้ติดเชื้อรักษาหายแล้ว และกลุ่มเสี่ยงทั้ง 10 คน ก็ไม่พบการ
ติดเชื้อ

ผศ.ดร.อุไร กล่าวว่า ภายหลังเกิดเหตุผู้ติดเชื้อรายแรกในพื้นที่ นายอำเภอท่าศาลาได้เรียก
ประชุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมทั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการในพื้นที่ มาร่วมกันออกแบบ การจัดการปัญหา ว่าจะร่วมทำงานกันอย่างไร เพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดการแพร่ กระจายอย่างรวดเร็วและเห็นผลในทางปฏิบัติมากที่สุด

ผศ.ดร.อุไร กล่าวว่า “ผลจากการหารือ ได้เห็นพ้องกันว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่ ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เพื่อระงับความหวาดกลัวของชาวบ้าน ความวิตกกังวลในพื้นที่ เนื่องจากภายหลังการพบผู้ติดเชื้อ พื้นที่ท่าศาลาก็เต็มไปด้วยสารพัดข่าวลือเท็จจริง จึงได้มีมติ เปิดศูนย์ให้ข้อมูลโควิด-19 ขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยข้อมูลนั้นมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของมหาวิทยาลัย อันเป็นสำนักวิชาการที่เข้ามาทำหน้าที่ รวมทั้ง
บุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง สร้างความตระหนัก แต่ไม่ ตื่นตระหนก”

นอกจากการมีศูนย์ข้อมูลที่น่าเชื่อถือแล้ว ในพื้นที่ยังมีจุดเด่นเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลและ กระจายข่าวสาร โดยครูเกษียณในพื้นที่และมัสยิด ผู้นำศาสนา โต๊ะอิหม่าม ซึ่งถือเป็นกำลัง หลักในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้าน เพราะเป็นผู้ที่ชาวบ้านให้การยอมรับ นับถือ และ เชื่อในสิ่งที่ครูเกษียณ และผู้นำศาสนาสื่อสารออกไป

ตำบลท่าศาลาได้ร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วน ทั้งเทศบาล โรงพยาบาลท่าศาลา อาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครูเกษียณ โต๊ะอิหม่าม เจ้าหน้าที่ตำรวจ มหาวิทยาลัยในพื้นที่
และจิตอาสาภาคประชาชน ที่มีอยู่จำนวนมาก และส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ทำให้ไม่มีคนติดเชื้อเพิ่ม เรียกได้ว่า เคสเดียวจบ

ผศ.ดร.อุไร ระบุว่า “ถือว่าพื้นที่ท่าศาลามีการจัดการที่ดี เมื่อมีเคสแรก ก็วางแผน ปฏิบัติงาน จัดการ ได้ทันท่วงทีเป็นการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน จากเคสผู้ติดเชื้อคนแรกในพื้นที่และคนแรก ของภาคใต้ สร้างความวิตกให้คนในพื้นที่เป็นอย่างมาก การทำงานของหน่วยงานหลักอย่าง เทศบาลท่าศาลา ได้ร่วมมือกับ โรงพยาบาลท่าศาลาตั้งแต่ต้น ปรับ เปลี่ยน ศึกษา จากการ เคสรายนั้นในการจัดการปัญหา และดูแลทุกทาง”

ผศ.ดร.อุไร จเรประพาฬ ยังกล่าวว่า การจัดตั้งศูนย์ให้ข้อมูลทั้งอำเภอในเรื่องไวรัสโควิด-19 ผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ หรือตัวบุคคล ที่เกิดขึ้น ถือเป็นนวัตกรรมสังคมที่เกิดภายใต้ สถานการณ์แพร่ระบาดและนำมารับมือกับปัญหาได้อย่างเห็นผลในทางปฏิบัติ ทำให้ประชาชน ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และวิธีการป้องกันตัวเองและชุมชนได้เป็นอย่างดี ทุกคนสามารถ เข้าถึงข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจน ไม่ต้องเจอกับปัญหาข่าวลือ ข่าวปลอม

ผศ.ดร.อุไร ระบุว่า “เทศบาลตำบลท่าศาลาเป็นชุมชนเมือง มีพื้นที่แคบ ทำให้การทำงานง่าย สื่อสารได้เร็ว โดยเฉพาะจิตอาสา ส่วนใหญ่เป็นคนมีเงิน มีฐานะ เช่น แม่ค้า พ่อค้า ข้าราชการ เกษียณ ทำให้ชุมชนสามารถขยับได้เร็วท่ามกลางวิกฤต มีการดึงคนมาใช้ประโยชน์ และส่ง สารข้อมูลได้ถูกต้อง มีการใช้องค์ความรู้ งานวิชาการ โดยการดึงมหาวิทยาลัยในพื้นที่มาทำ หน้าที่สนับสนุนโดยตรงนี้”

ด้านมาตรการสุขภาพจิตสำหรับคนในพื้นที่นั้น ได้มีการประชุมร่วมกันโดยขอความช่วยเหลือ ไปยังมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เพื่อให้ส่งนักวิชาการด้านจิตวิทยาเข้ามาดูแล ซึ่งนักวิชาการ ด้านจิตวิทยาระบุว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่เรื่องทำให้เกิดจิตเภท แต่เป็นความกลัว ความวิตกกังวล วิธีการแก้ปัญหาคือ การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เพื่อ ลดความตระหนก แต่ให้ตระหนัก

นอกจากนี้ ทางชุมชนยังมีโครงการพยาบาลเพื่อประชาชนที่ทำมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้ เมื่อเกิด
สถานการณ์แพร่ระบาดเกิดขึ้น ได้มีการผลิตสื่อเผยแพร่ อาทิ วิดีโอสอนทำความสะอาด ล้าง มือถูกวิธี เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้และปฏิบัติอย่างถูกต้อง