ภาคอีสานตอนล่าง ร่วมขับเคลื่อน “กิจกรรมรณรงค์สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ”

ภาคอีสานตอนล่าง ร่วมขับเคลื่อน “กิจกรรมรณรงค์สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ”
.
ภาคอีสานตอนล่าง 3 จังหวัด 3 ตำบล จัดกิจกรรมรณรงค์ “สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ” เพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในชุมชน เพื่อให้ประชาชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการเตรียมพร้อมรับมือภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกระทบต่อโลกของเราโดยตรง โดยมีกิจกรรมรณรงค์ จำนวน 3 กิจกรรม จาก 3 ตำบล ดังนี้
.
1. อบต.เก่าย่าดี อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ จัดกิจกรรมรณรงค์ “คืนป่าให้ย่า” เพื่อให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ โดยการปลูกต้นไม้ จำนวน 20 ไร่ และประกาศเจตนารมณ์เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ได้ 80 ไร่ ไร่ละ 100 ต้น รวมทั้งหมด 8,000 ต้น ภายในระยะเวลา 1 ปี (SDG 15) กิจกรรมครั้งนี้ ได้ทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่ในชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ปรับสภาพให้เป็นแหล่งอาหารของชุมชน (SDG 2) เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่บริสุทธิ์ (SDG 6) ซึ่งการรณรงค์ในครั้งนี้ จะดำเนินงานแบบไร้ขยะในพื้นที่ (SDG 12) เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมตลอดการทำกิจกรรม โดยปัจจัยสำคัญในการจัดกิจกรรมรณรงค์ คือ การเตรียมพร้อมรับมือภาวะโลกร้อน (SDG 13) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในทุกวัน
.
2. “โฮมแลน แปนทาง สร้างป่า” จาก อบต.ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี จัดกิจกรรมวิ่งรณรงค์ และทำเสวียนรักษ์โลก จำนวน 20 อัน ปลูกป่าและต้นไม้ทดแทนในพื้นที่กว่า 50 ไร่จำนวน 500 ต้น เพื่อให้ทุกคนในชุมชนเตรียมพร้อม และร่วมกันลดภาวะโลกร้อน และลดมลพิษทางอากาศ (SDG 13) ซึ่งสอดคล้องกับการจัดการระบบนิเวศบนบก คือการเพิ่มพื้นที่สีเขียว (SDG 15) และขจัดปัญหาดินเสื่อมโทรม (SDG 2) อีกด้วย
.
3. อบต.สำโรงตาเจ็น อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ จัดกิจกรรมรณรงค์ “รักษ์ฉัน รักษ์ชุมชน” เพื่อให้ชุมชนมีความตื่นตัวในเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ เห็นความสำคัญของการดูแลป่าและแหล่งน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบ SDG ทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ SDG 2, 6, 7,12, 13 และ 15 อีกทั้งกิจกรรมรณรงค์นี้ ได้สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน และความสามัคคีของคนในชุมชนผ่านกิจกรรมทั้งหมด 6 กิจกรรมรณรงค์ ดังนี้
.
กิจกรรมที่ 1 ขบวนปั่นจักรยานรักษ์โลก เพื่อสำรวจพื้นที่ป่า และบริเวณที่สามารถเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในชุมชน และสำรวจปริมาณขยะภายในชุมชน โดยติดป้ายรณรงค์ และทำสัญลักษณ์ ‘การสร้างภูมิ คุ้มนิเวศ’ ที่จักรยานทุกคัน
.
กิจกรรมที่ 2 เพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกต้นไม้ที่บริเวณป่าสาธารณะประโยชน์ จำนวน 3 ไร่ มีต้นไม้ทั้งหมด 1,500 ต้น
.
กิจกรรมที่ 3 จัดทำสถานที่เพาะพันธุ์สัตว์ เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่ช่วยในการรักษาระบบนิเวศป่า
.
กิจกรรมที่ 4 ทำพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานราชการและผู้นำท้องที่ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
.
กิจกรรมที่ 5 มอบใบประกาศเกียรติบัตรผู้นำที่ร่วมรณรงค์และผู้นำต้นแบบในการรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำดีต่อไป
.
กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมเก็บขยะ และทำความสะอาดภายใน ต.สำโรงตาเจ็น เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีอาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน เป็นแกนนำหลักในการทำกิจกรรม
.
ผลจากการดำเนินงานในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ทั้ง 3 แห่ง ที่ผ่านไปแล้วอย่างราบรื่นนั้น ถือเป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้เด็ก เยาวชนและทุกคนในชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่ป่า จัดการขยะ และเรียนรู้พร้อมรับมือกับภาวะโลกร้อน สร้างจิตสำนึกที่ดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน
.
#วันสิ่งแวดล้อมโลก
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส