‘ร่องเคาะ’ผนึกชุมชม ผุดชุดสายตรวจ ส่อง’กักตัวทิพย์’

พื้นที่อำเภอวังเหนือ .ลำปาง ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และเผชิญกับคลัสเตอร์ใหญ่ โดยเฉพาะกับกลุ่มนักเรียน กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่  ซึ่งเป็นโจทย์ของชุมชนที่จะต้องหาวิธีการรับมือและสกัดการลุกลามให้ได้อย่างไร เพื่อควบคุมการกักตัวให้เป็นไปตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ตลอดการกักตัวทั้ง 14 วัน หรือจนกว่าจะปลอดเชื้อและกลับไปใช้ชีวิตปกติได้

นางดวงใจ ดีพัฒนกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่สง  องค์การบริหารส่วนตำบลร่องเคาะ  .วังเหนือ จ.ลำปาง ระบุถึงสถานการณ์ในพื้นที่ว่า ล่าสุดมีคนติดเชื้อในพื้นที่จำนวน 3 คน ซึ่งทั้งหมดอยู่รักษาตัวที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว แต่สิ่งที่น่ากังวลคือกลุ่มเสี่ยงที่มีประมาณ 80 คน จากคลัสเตอร์โรงเรียนประจำอำเภอ และคลัสเตอร์รถตู้โรงเรียน รวมทั้งกลุ่มที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง 13 จังหวัด

ที่ผ่านมาได้มีการประชุมวางมาตรการร่วมกันของ 4 องค์กรหลักในพื้นที่ ทั้งท้องถิ่น ท้องที่ รพ.สต. อสม. .. และภาคประชาชน โดยเปิดพื้นที่กักตัว หรือ LQ ที่ตลาดประชารัฐ สามารถรองรับได้ประมาณ 30 คน มีระบบการดูแลช่วยเหลือกันโดย อบต.จะรับผิดชอบดูแลทั้งเรื่องอาหาร และการจัดการเรื่องความสะอาด ตามมาตรการสาธารณสุข การฉีดฆ่าเชื้อ  ขณะที่ รพ.สต.และ อสม.จะดูแลในเรื่องการติดตามอาการ และ ท้องที่ ผู้นำชุมชนมีหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัย รวมทั้งทีมกู้ชีพ กู้ภัย 

ขณะเดียวกันนางดวงใจได้กล่าวถึงการดำเนินการในโครงการรับคนกลับบ้านหรือคนที่ต้องการจะกลับภูมิลำเนาว่าผู้ที่จะเดินทางเข้าพื้นที่จะต้องแจ้งมาที่พื้นที่ผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้านหรือที่อบต.ล่วงหน้า 3 วัน  ซึ่งขณะนี้มีผู้เดินทางเข้ามาและดำเนินการกักตัว ประมาณ 50 คน โดยมอบหมายให้อสม.แต่ละหมู่บ้านเป็นผู้ดูแลคนกักตัวที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกันสำหรับคนที่กักตัวที่ส่วนกลาง แต่หากประสงค์ที่จะกักตัวอยู่ที่บ้าน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชน ถึงจะสามารถกักตัวที่บ้านได้

ในส่วนของมาตรการการดูแลนั้น จะอสม.ติดตามโทรถามอาการ และไปเยี่ยม พร้อมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่โดย อบต.จะมีการสนับสนุน อุปกรณ์ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ   เมื่อ อสม.ได้ผลติดตามอาการจะรายงานมาที่ รพ.สต.  และ ส่งต่อไปยัง รพ.วังเหนือ ซึ่งเป็น รพ.ประจำอำเภอ  ซึ่งถ้ามีอาการทาง รพ.วังเหนือ ก็จะมีรถมารับไปตรวจทันที

ทั้งนี้ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่สง องค์การบริหารส่วนตำบลร่องเคาะ ได้แสดงความกังวลถึงการต้องรับมือกับคลัสเตอร์โรงเรียนประจำอำเภอประมาณ 30 คน และคลัสเตอร์รถตู้รับส่งนักเรียนด้วยประมาณ 19 คน   โดยส่วนใหญ่กักตัวที่บ้าน ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะควบคุมให้กลุ่มวัยรุ่นกักตัวที่บ้านเป็นเวลา 14วัน  ด้วยเหตุนี้ จึงมีมาตรการติดตาม ดูแล ทุกกลุ่มที่กักตัวในพื้นที่ เพื่อไม่ให้เกิดการกักตัวทิพย์

ปัญหาที่เจอคือปรากฎการณ์กักตัวทิพย์ คือไม่ได้อยู่กักตัวแต่ออกมาข้างนอกไปโน้นนี่ตามปกติ ซึ่งเรามีมาตรการที่ดูแลตรงนี้คือ เรามีทีมสายตรวจ ซึ่งประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้นำหมู่บ้าน , ชรบ. 2.เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3.จิตอาสา เช่น เครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ และ อปพร.  กลุ่มสายตรวจจะออกตระเวนตรวจ ในแต่จุด แต่ละหมู่บ้าน ที่มีการกักตัว เพื่อไปสอดส่องว่ากักตัวจริงหรือไม่ หรือออกไปไหน  นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ด้วย

นอกจากนี้นางดวงใจระบุถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคนในชุมชนด้วยว่าแม้ในพื้นที่จะมีสถานการณ์แพร่ระบาดแต่ชุมชนค่อนข้างมีความเข้าใจและเคารพกฎกติกาและให้ความร่วมมือในการป้องกันการแพร่ระบาดเช่นการใส่หน้ากากอนามัยเกือบร้อยเปอร์เซนต์ทำกันเป็นกิจวัตรขณะเดียวกันอบต.ก็ดำเนินการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตื่นตัว ทั้งใช้รถประชาสัมพันธ์ที่ลงพื้นที่ทุกวัน ประกาศ ข้อมูล ข่าวสาร รณรงค์ให้ป้องกันตัวเองจากไวรัสโควิด และใช้เสียงตามสายประจำหมู่บ้าน 

ชาวบ้านเรียนรู้เรื่องโควิดในระดับที่สามารถป้องกันตัวเองได้แล้ว และไม่ได้หวาดกลัวจนตื่นตระหนก แต่สามารถที่จะจัดการได้ เช่น การที่รับคนกลับบ้านมาจากพื้นที่เสี่ยง พวกเขาก็เข้าใจและช่วยเหลือกัน เพราะเป็นลูกหลานของพวกเขากันเอง ซึ่งถือเป็นการตกลงกันในชุมชนด้วย หรือ มติชุมชน ที่จะช่วยเหลือดูแลกันในยามที่พวกเขาประสบทุกข์ภัยกลับมานางดวงใจ กล่าว

#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส
#ชุมชนท้องถิ่น รู้รับ ปรับตัว