สำรวจ ‘ความมั่นคงทางอาชีพของผู้สูงอายุ’ ผลงานจากเยาวชนภาคเหนือ ภายใต้โค
รงการ ‘ยุววิจัยวัยจิ๋ว’
‘ยุววิจัยวัยจิ๋ว’ คือส่วนหนึ่งของโครงการยุวสร้างเสริมปิดเทอมสร้างสรรค์ โครงการที่
นำเด็กจากแต่ละชุมชน มาประสานเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ ด้วยความเชื่อที่ว่า
พลังเล็ก ๆ จากเด็กและเยาวชน คือพลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และจะ
นำไปสู่การพัฒนาในระดับประเทศได้ในที่สุด
โครงการยุวสร้างเสริมปิดเทอมสร้างสรรค์ จะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและ
เยาวชนในชุมชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็ง
สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุน
หลักจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักสนับสนุนสุขภาวะ
ชุมชน (สำนัก ๓)
หนึ่งในผลงานของเด็ก ๆ ยุววิจัยที่น่าสนใจ คืองานวิจัยเรื่อง ‘การเสริมสร้างความมั่น
คงด้านอาชีพของผู้สูงอายุ บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น’ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษารูปแบบการส
ร้างเสริมความมั่นคงด้านอาชีพของผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ร่วมกับกระบวน
การมีส่วนร่วมในชุมชนตำหนักธรรม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ โดยศึกษากับกลุ่ม
ตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 50 คน ในช่วงเดือนกรกฏาคม – กันยายน 2562
งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยผลการวิจัย พบว่า รูป
แบบอาชีพที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาชีพสำหรับผู้สูงอายุบนฐานภูมิปัญญาท้อง
ถิ่น คือ การทำเกษตรปลอดภัย และการผลิตแปรรูปอาหารตามภูมิปัญญาพื้นบ้านในพื้น
ที่ ร่วมกับความต้องการการมีภาวะสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน
จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่า ตำบลตำหนักธรรม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่มี
ผู้สูงอายุจำนวนมากที่ทำงานในสภาพที่เสียเปรียบ รายได้ไม่มั่นคง และได้รับการคุ้มค
รองทางสังคมที่จำกัด โดยอัตราจ้างงานต่อวันและต่อชั่วโมงของผู้สูงอายุ จะต่ำกว่าค่า
จ้างลูกจ้างประเภทอื่น และผู้สูงอายุส่วนมากมีรายได้ที่ไม่เพียงพอ
ชุมชนตำหนักธรรม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้
สูงอายุในชุมชนได้มีโอกาสพบปะและทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อประกอบอาชีพเสริม
คือ การผลิตดอกไม้จันทน์เพื่อเป็นแหล่งเพิ่มพูนรายได้ของสมาชิก
เมื่อตรวจสอบจากบันทึกผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่ารายได้จากการผลิตดอกไม้
จันทน์ของชมรมผู้สูงอายุนั้นค่อนข้างต่ำและไม่เพียงพอที่จะช่วยเป็นแหล่งรายได้เสริม
ให้กับสมาชิก ดังนั้นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุจึงมีความต้องการอาชีพเสริมอื่น
ผลการศึกษา พบว่า การนำรูปแบบการผลิตผักพื้นบ้านแบบปลอดภัยสู่การสร้างรายได้
เสริมให้กับผู้สูงอายุ จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการผลิตปัจจัย
การผลิตและการคัดเลือกพันธุ์ผักพื้นบ้านที่มีศักยภาพการแข่งขันในตลาดผู้บริโภคท้อง
ถิ่น เพราะองค์ความรู้ที่เหมาะสมของผู้สูงอายุในฐานะผู้ผลิตยังขาดอยู่มาก โดยเฉพาะ
การผลิตปุ๋ยหมักที่ใช้เทคโนโลยีพื้นบ้านให้สอดคล้องกับวัตถุดิบและความต้องการของ
ผู้สูงอายุ
ผักที่เก็บผลผลิตได้จะนำไปจำหน่ายที่ตลาดนัดชุมชน รายได้จากการจำหน่ายจะนำเข้า
ชมรมผู้สูงอายุ เพื่อนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์ผักเพิ่มเติม และขยายผลการดำเนินงาน
เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของโครงการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติกิจกรรมการพัฒนา
อาชีพเสริมครบ ทั้ง 6 ขั้นตอน ตามที่ได้วางแผนไว้โดยกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
คือการเลือกชนิดของผักที่ต้องการปลูก การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการ
เพาะปลูก และการเตรียมเมล็ดพันธุ์และต้นกล้า มีกิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างต่อ
เนื่องคือการเพาะปลูกผัก การดูแลและการรดน้ำผักการเก็บผลผลิต และการจำหน่าย
ผลผลิตที่ได้
ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการฝึกอบรมองค์ความรู้เสนอว่า หน่วยงานทั้งเทศบาลและหน่วยงา
นภายนอกควรร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่ เพื่อใช้เป็น
แหล่งการหาความรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างกิจกรรมที่ให้ประชาชนมีโอ
กาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงสร้างแหล่งจำหน่ายผลผลิตที่ผลิตได้
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส