สำรวจ ‘ความเชื่อของชาวสำโรงตาเจ็นต่อพิธีรำแม่มด’ ผลงานของเยาวชนภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภายใต้โครงการ ‘ยุววิจัยวัยจิ๋ว’

สำรวจ ‘ความเชื่อของชาวสำโรงตาเจ็นต่อพิธีรำแม่มด’ ผลงานของเยาวชนภาคตะวัน
ออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภายใต้โครงการ ‘ยุววิจัยวัยจิ๋ว’

‘ยุววิจัยวัยจิ๋ว’ คือส่วนหนึ่งของโครงการยุวสร้างเสริมปิดเทอมสร้างสรรค์ โครงการที่
นำเด็กจากแต่ละชุมชน มาประสานเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ ด้วยความเชื่อที่ว่า
พลังเล็ก ๆ จากเด็กและเยาวชน คือพลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และจะ
นำไปสู่การพัฒนาในระดับประเทศได้ในที่สุด

โครงการยุวสร้างเสริมปิดเทอมสร้างสรรค์ จะมุ่งสร้างการมีส่วนร่วมของเด็กและ
เยาวชนในชุมชน ให้ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็ง
สร้างภูมิคุ้มกันทางความคิด และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุน
หลักจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักสนับสนุนสุขภาวะ
ชุมชน (สำนัก ๓)

หนึ่งในผลงานของเด็ก ๆ ยุววิจัยที่น่าสนใจ คืองานวิจัยเรื่อง ‘ความเชื่อของชาวสำโรง
ตาเจ็นต่อพิธีรำแม่มด’
จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาว่า เหตุใดชาวสำโรงตาเจ็น อำเภอขุขันธ์
จังหวัดศรีสะเกษ ยังคงมีความเชื่อในพิธีกรรมการรำแม่มดมาจนถึงปัจจุบัน เหตุใดผู้
ป่วยจึงมีอาการดีขึ้นหลังจากการทำพิธีการรำแม่มด และเพื่อศึกษาว่าพิธีกรรมการรำแม่
มดสามารถนำไปเป็นการรักษาสุขภาพในมิติอื่นๆได้หรือไม่

พิธีกรรมการรำมม็วต (มะม็อด) หรือรำแม่มด เป็นวัฒนธรรมของชนเผ่าเขมรดั้งเดิม
ในตำบลสำโรงตาเจ็น เมื่อใดที่ในชุมชนที่คนเจ็บไข้ได้ป่วย โดยที่ไปรักษาทางการ
แพทย์ปัจจุบันแล้วไม่หาย ชาวบ้านก็จะมีความเชื่อว่า การจัดพิธีรำแม่มดจะช่วยในการ
บรรเทารักษาอาการเจ็บป่วยหรือปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายได้

พิธีรำแม่มดจะมีการประทับทรง ร่างทรงจะเริ่มร่ายรำ มีท่าทางต่างไปจากเดิม บางคน
มีอาการร้องไห้ บางคนแสดงท่าทางโกรธกริ้วที่ผู้ป่วยได้กระทำผิดมา ซึ่งเจ้าภาพหรือผู้
ป่วยและญาติพี่น้องจะถามว่าจะแก้ความผิดนั้นอย่างไร จากนั้นร่างทรงจะชี้แนะวิธีให้
ทำตาม เป็นการจัดพิธีถวายเพื่อให้หายป่วย หรืออาจจะแนะนำให้ไปทำพิธีเองก็ได้ หลัง
จากที่อาการป่วยเริ่มดีขึ้น ต้องทำพิธีผูกแขนผูกข้อมือเพื่อรับขวัญ และจะต้องนัดกันว่า
จะรำมม็วตอีกครั้งเมื่อใด เพื่อเป็นการขอบคุณที่ช่วยให้หายจากอาการเจ็บป่วย

โดยศึกษากับกลุ่มตัวอย่างผู้จัดและผู้ประกอบพิธีกรรม จำนวน 10 คน ผู้ป่วย จำนวน 20
คน และคนในชุมชน อีกจำนวน 30 คน ในช่วงเดือนมิถุนายน – เดือน สิงหาคม 2562

งานวิจัยชิ้นนี้เก็บข้อมูลด้วย โดยผลการวิจัย พบว่า คนในชุมชนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า
พิธีกรรมการรำแม่มดสามารถรักษาอาการป่วยได้จริง เนื่องจากเคยเข้าร่วมพิธีกรรม
การรำแม่มดมาก่อน แต่คนบางส่วนในชุมชน ก็ไม่เชื่อว่าพิธีรำแม่มดสามารถรักษาได้
จริง

โดยคนในชุมชนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าพิธีการรำแม่มด สามารถรักษาอาการป่วยได้
ภายใน 1 สัปดาห์, 1 ปี, 3 เดือน และ 6 เดือน ตามลำดับ ทั้งนี้หากปฏิบัติตามพิธีกร
รมอย่างถูกต้อง ก็สามารถทำให้หายป่วยได้ทันที แต่ถ้ามีโรคแทรกซ้อน ก็ต้องรักษา
ตามอาการกับแพทย์แผนปัจจุบันควบคู่ไปด้วย

ชาวสำโรงตาเจ็นประกอบพิธีการรำแม่มด เพราะการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันไม่ช่วย
ให้อาการป่วยดีขึ้น และส่วนหนึ่งทำพิธีเพราะมีญาติพี่น้อง พ่อแม่ หรือคนรู้จักให้ทำ
เพราะเป็นความเชื่อของชาวสำโรงตาเจ็นที่มีมาแต่โบราณ แต่ก็ยังมีการกินยาแผนปัจ
จุบันควบคู่กับการรักษาโดยวิธีการรำแม่มดไปด้วย

ชาวสำโรงตาเจ็นส่วนมากคิดว่า การรำแม่มดเป็นความนับถือศรัทธา และเป็นความเชื่อ
ส่วนบุคคลที่มีผลทางจิตใจของผู้ป่วย ทำให้การรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบันได้ผลดีขึ้น
เนื่องจากผู้ป่วยมีกำลังใจว่าจะหายจากอาการป่วย ในวัยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความเชื่อ
ว่าการรำแม่มด เป็นการกระทำของวิญญาณบรรพบุรุษ ผีฟ้า แม่มด ภูตผี หรือครูบาอา
จารย์ที่ทำการแก้อาการป่วย จึงสรุปได้ว่าความเชื่อ ทำให้คนมีกำลังใจในการรักษาอา
การป่วย และผลการรักษาก็ดีขึ้นหรืออาจหายจากอาการป่วย ควบคู่ไปกับการรักษากับ
ทางแพทย์แผนปัจจุบัน

ชาวสำโรงตาเจ็นส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า ท่ารำในการประกอบพิธีรำแม่มดจะ
สามารถประยุกต์เป็นการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุได้ และในปัจจุบัน พิธีกรรมการ
รำแม่มดกำลังจะสูญหายไปจากตำบลสำโรงตาเจ็น จึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีการสืบทอด
ให้คงอยู่อย่างถูกต้อง และอยากให้มีการส่งเสริมเรื่องกองทุนในการอนุรักษ์ช่วยเหลือ
เรื่องการจัดพิธีให้ชาวสำโรงตาเจ็น ให้ผู้คนสามารถเข้าถึงพิธีกรรมได้ง่ายขึ้นและส่ง
เสริมในเชิงการท่องเที่ยว รวมทั้ง มีรูปแบบการปฏิบัติที่ชัดเจน คงไว้ซึ่งความถูกต้อง
ของพิธี และสามารถประยุกต์ท่ารำแม่มด เพื่อใช้ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ เพื่อ
เป็นการรักษาสุขภาพอีกหนึ่งช่องทาง

#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง