อนาคตไทยเผชิญน้ำท่วมใหญ่ ปรับตัวและรับมือ -ภัยพิบัติ

 

 

 

ทั่วโลกมีแนวโน้มจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งประเทศไทยเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่แปรปรวน รวมทั้งในอนาคตโลกจะร้อนยิ่งขึ้นยากที่จะกลับไปสวยงามเมื่อไม่นานมานี้เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดงานสานพลังชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 2 พ.ศ.2561 ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติจริง

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิพย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิตได้บรรยายในหัวข้อ“ แนวทางการรับมือภัยพิบัติของประเทศไทยโดยชุมชนท้องถิ่น ”

ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ว่า ที่ผ่านมามีการประชุมผู้นำระดับโลกพร้อมลงความเห็นว่า ทั่วโลกในปีนี้ น่าจะเป็นปีที่ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอาจจะมีความรุนแรงในด้านของสภาพภูมิอากาศ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่ผ่านมา เช่น เดือนมกรา เกิดภัยแล้งและคลื่นความร้อน ในทวีปยุโรปและออสเตรเลีย เกิดน้ำท่วมใหญ่ที่ประเทศอังกฤษ

” ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่มีใครควบคุมได้ คาดการณ์ไม่ได้ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ ถ้าเราไม่ปรับตัวเอง ในอนาคตมีแนวโน้มจะมากขึ้น “

การเกิดภัยพิบัติจะมีอยู่ 3 องค์ประกอบ อย่างแรกเกิดจากเหตุการณ์ สถานการ์ในพื้นที่นั้นๆ ว่ามีผลทำให้เกิด ขึ้นหรือไม่ อย่างที่สอง คือ ชุมชน ถ้าชุมชนมีความเปราะบาง  ไม่เข้มแข็ง ขาดการรับมือ ไม่มีการวางแผน  ก็จะทำให้เกิดขึ้น และสุดท้าย คือ ความล่อแหลม การที่เราได้ทำหรือสร้างสิ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยง ดังนั้นเราควรหาทางแก้ไขลดปัญหาต่างๆเหล่านี้

ประเทศไทยมีความเปราะบางสูงมากในการรับมือภัยพิบัติจากการประเมินของสหประชาชาติ รวมทั้งการประเมินจากธนาคารพัฒนาเอเชียในเรื่องความมั่นคงทางด้านการจัดการน้ำในระดับต่ำ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ คือ น้ำใช้น้ำครัวเรือน น้ำใช้ในชุมชน น้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม และน้ำเพื่อเศรษฐกิจ

 

“ ความอยากร่ำรวย ความอยากพัฒนาเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยไม่สนใจธรรมชาติ “

รศ.ดร.เสรีกล่าวต่อว่า ในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้น หลังจากนี้ทุกสิบปีจะฝนตกแบบนี้ เนื่องจากโลกร้อนขึ้น  ถามว่าเราสามารถกลับไปสู่โลกที่สวยงามได้หรือไม่ คำตอบคือ ไม่ เนื่องจากทั่วโลกมีการใช้ฟอลซิลทำให้เกิดการสร้างก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น เปรียบเทียบกับ ถ้าเรานำกล่องไปเก็บอากาศมา 1000000 กล่อง ใน 407 กล่อง มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์อยู่ เราไม่สามารถกำจัดก๊าซเหล่านี้ได้พราะไม่ย่อยสลาย โลกจะร้อนขึ้นไปเรื่อยๆแบบนี้ เราหลีกเลี่ยงไม่ได้กับเหตุการณ์แบบนี้ ถ้าเกิดสถานการณ์แบบแล้วเราเปราะบาง มันก็จะพัง เพราะฉะนั้นเราต้องหาทางแก้ไขให้ประชาชนรับรู้และรับมือกับมัน นี่เแหละเป็นสิ่งที่ต้องการ

IPCC หรือคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จับตาดูประเทศไทยอยู่ จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ว่าไทยนั้นจะสามารถแก้ปัญหาอย่างไร ถ้าในอนาคตเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก รวมทั้ง สถานกาณ์ในประเทศไทยปีนี้ จะเป็นปีที่เรียกได้ว่าเป็นปี “เปียกอ่อนๆ” เนื่องจากปลายปีที่แล้ว ภาคใต้เกิดปัญหาน้ำท่วม รวมทั้งมีปริมาณน้ำค่อนข้างมาก ทำให้เกษตรกรทำนาเยอะ ราคาข้าวดี  และมีสภาพอากาศที่ไม่ร้อนเกินไป กำลังสบาย

รศ.ดร.เสรีได้พูดถึงภัยพิบัติแผ่นดินไหวว่า แผ่นดินไหวไม่สามารถคาดการณ์ได้ เราทำได้แค่รับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น อย่างการสร้างอาคารที่แข็งแรง การป้องกันด้วยตนเอง อย่างเช่น หลบใต้โต๊ะหรือข้างเตียง ประเทศไทยภาคเหนือมักจะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวเพราะฉะนั้นต้องเรียนรู้การรับมือภัยพิบัติ

“ในอนาคต พวกเราหลีกไม่พ้นภัยพิบัติ เพราะยากที่โลกของเราจะกลับไปเป็นเช่นเดิม ตอนนี้ทำได้แค่ลดการใช้ฟอสซิล ถ่านหินลิคไนค์ ให้เรารู้ตัวในสิ่งที่เกิดขึ้นและสิ่งที่มีอยู่ เช่น หน้าแล้ง ก็ไม่ควรปลูกข้าว เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทน”

IPCC คาดการณ์ว่า น้ำแข็งขั้วโลกจะละลาย และมีความเป็นไปได้ในอนาคต น้ำทะเลจะสูงขึ้นอีก ไม่แน่ว่าในอนาคต เราอาจจะเห็นอนุสาวรีย์กลายเป็นน้ำทะเลก็เป็นได้

คาดการณ์การว่า ประเทศไทยจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี  2571 และจะเกิดภาวะน้ำหลังในอีกสองปีข้างหน้า และเกิดภาวะแห้งแล้งที่สุดในปี 2575  ถ้าการคาดการณ์นั้นเกิดขึ้น อนาคตประเทศไทยก็ควรจะมีการรับมือและแก้ไขสถานการณ์นี้ได้หรือไม่  ต้องรอติดตามกัน