เมื่อเหล้าเข้าปาก…แล้วไปไหน?

เมื่อเหล้าเข้าปาก…แล้วไปไหน?
.
ในปัจจุบัน สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาจากสุรามากเป็นอันดับต้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเล็กใหญ่ ปัญหาคนติดสุรา ก็ย่อมนำมาเป็นที่หนึ่งอยู่เสมอ ด้วยพฤติกรรมการบริโภคที่มักจะดื่มหลังเลิกงาน ดื่มสังสรรค์ในวันพิเศษ หรือดื่มเพราะแค่อยากจะดื่ม เพื่อผลลัพธ์อย่างการเมา …แล้วหลังจาการเมา นักดื่มทั้งหลายเขาทำอะไรกันนะ?
.
#ลดเมาเพิ่มสุข
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส

ไปก่อเหตุทะเลาะวิวาท
.
ฤทธิ์กดประสาทของแอลกอฮอล์ จะส่งผลต่อสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นส่วนของการควบคุมสติ และการตัดสินใจ ทำให้นักดื่มมักจะขาดความยับยั้งชั่งใจ ก่อเหตุวิวาทเป็นประจำ เราจึงมักจะเห็นข่าวคนทะเลาะกันในชุมชนด้วยเหตุผลง่าย ๆ อย่างการ ‘เมา’ เสมอ

ไปเกิดอุบัติเหตุ
.
หากเราหันกลับมาดูสถิติย้อนหลังสัก 5 ปี ก่อนหน้านี้ เราจะพบว่า ‘การเมาแล้วขับ’ คือสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ (7 วันอันตราย) มาตลอด โดยที่ไม่มีอะไรมาล้มไปได้
.
หลายคนมักมีความมั่นใจว่า ‘การดื่มนิดหน่อย ไม่เมาเท่าไร’ ไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่หลายครั้งอุบัติเหตุ ก็เกิดจากคนที่มีความคิดแบบนี้
.
อย่างที่เรารู้ว่า แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์กดประสาท ทำให้รับรู้เรื่องราวได้ช้าลง สมองประมวลผลไม่ทัน และส่งผลต่อการตัดสิน เช่น เมื่อเราเห็นรถเลี้ยวเข้ามาในระยะสายตา แต่ด้วยอาการเมา ทำให้สมองเราประมวลผลช้าลง กว่าจะตัดสินใจเบรกก็อาจทำให้ชนก่อนได้ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ‘คนเมา’ ถึงมีแนวโน้มจะก่ออุบัติเหตุสูงมากกว่าคนปกติ
.
และเหยื่อของเหตุการณ์นี้ก็ตกลงที่คนธรรมดาที่ไม่ได้เมา คนที่กำลังตั้งใจขับรถกลับบ้านเพื่อไปเจอครอบครัว คนที่กำลังเดินข้ามถนนตามสัญญาณไฟ หรือคนที่เพียงเดินอยู่ในชุมชน
.
ที่มา : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ไปก่ออาชญากรรม
.
การทะเลาะวิวาทอาจจบลงที่การแยกย้าย ฝังไว้เพียงความรู้สึกไม่พอใจบาง ๆ แต่เมื่อไรที่การทะเลาะวิวาทภายในชุมชนดำเนินต่อไป และกระพือความรุนแรงมากขึ้นเพราะความขาดสติจากการเมา
อาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียขึ้นได้
.
จากการศึกษา พบว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชญากรรมที่เกี่ยวกับความผิดต่อชีวิตและร่างกาย เช่น คดีฆ่า ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน ลักทรัพย์ ปล้น และค้ายาเสพติด
.
โดยร้อยละ 87.6 ของผู้ต้องขังที่ต้องโทษในคดีความผิดต่อชีวิต และร่างกายล้วนเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราก่อนถูกจับกุม และมากว่าร้อยละ 50 ของผู้ต้องขังวัยรุ่นก่ออาชญากรรมภายหลังการดื่มสุราภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ชั่วโมง โดยสถานที่เกิดเหตุมักเป็นพื้นทีเดียวกัน หรือใกล้เคียงกับสถานที่ที่ดื่มสุรา
.
ที่มา : สุมนทิพย์ จิตสว่าง, ความสัมพันธ์ของการเสพสุรากับอาชญากรรม .2553, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุนวิจัย กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช กรุงเทพ