“4 สร้าง 1 พัฒนา” ลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ได้จริงจากตัวอย่าง 13 ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

“4 สร้าง 1 พัฒนา” ลดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ได้จริงจากตัวอย่าง 13 ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
.
โครงการ “ลดเมา เพิ่มสุข” คือโครงการที่จัดตั้งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อลดเหล้า และอุบัติเหตุจากการดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนท้องถิ่น ด้วยวิธี “4 สร้าง 1 พัฒนา” สร้างแนวทางต่าง ๆ ในการลดอุบัติเหตุให้ชุมชน พร้อมพัฒนาความร่วมมือจากคนในชุมชนเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้ชุมชน
.
ทางเพจสุขภาวะชุมชน ได้รวบรวมเอาแนวทาง และวิธีการต่าง ๆ ที่ทั้ง 13 ตำบล ใช้ในการป้องกันอุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่มาเรียบร้อยแล้ว โดยแบ่งได้ตามนี้เลย~
.
#ลดเมาเพิ่มสุข
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส

“4 สร้าง 1 พัฒนา” แนวทางปฏิบัติในการลดอุบัติเหตุภายในชุมชนที่ใช้ได้จริง!
.
“4 สร้าง 1 พัฒนา” คือแนวทางปฏิบัติเพื่อลดอุบัติเหตุภายในชุมชน โดยเน้นที่การลดเหล้าและลดเมา เพื่อสร้างความสุขให้เกิดขึ้นในชุมชน
.
1. การสร้างต้นแบบ
เน้นสร้างความเป็นชุมขนต้นแบบ สร้างบุคคลต้นแบบขึ้นเพื่อเป็นตัวอย่างในชุมชน ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และลดอุบัติเหตุจราจรในทุกระดับ
.
2. การสร้างเส้นทางปลอดภัย
มาตรการควบคุมและป้องกันจุดเสี่ยง ทางโค้ง ทางแยก และจุดอันตรายภายในเขตชุมชน สร้างป้ายสัญญาณเตือน ปรับสภาพถนนและสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การขับขี่ยานพาหนะ เพื่อลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุทั้งบนถนนสายหลักและถนนสายรอง
.
3. การสร้างนวัตกรรมช่วยเลิกโดยชุมชน
ส่งเสริมและสร้างระบบการดูแลสุขภาพของผู้ดื่ม ผู้ที่ติดเหล้า และผู้ที่ต้องการเลิกเหล้า ร่วมกับรพสต. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
.
4. การกำหนดมาตรการทางสังคม และการบังคับใช้กฎหมาย
กำหนดกฎกติกา และข้อตกลง ในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุจราจรร่วมกันภายในชุมชน โดยผ่าน หน่วยงานในพื้นที่ องค์กรชุมชน ร้านค้าชุมชน และงานบุญประเพณีท้องถิ่น
.
5. การพัฒนาความร่วมมือ 4 องค์กรหลัก สร้างชุมชนลดเมา เพิ่มสุข
ขับเคลื่อนกิจกรรมลดเมา เพิ่มสุข เพื่อลดนักดื่มในตำบล และเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ จากความร่วมมือของ 4 องค์กรหลักในชุมชน คือ หน่วยงานท้องที่ หน่วยงานท้องถิ่น ชุมชน และประชาชน

และนี่ก็คือตัวอย่างชุมชนท้องถิ่นที่นำเอาวิธี “4 สร้าง 1 พัฒนา” มาใช้จริง และมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุในช่วง 7 วันอันตรายเทศกาลปีใหม่ลดลงกว่าปีก่อน โดยเป็นชุมชนที่มีอุบัติเหตุเป็นศูนย์ในปีนี้!
.
1. เทศบาลตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่ ให้กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– นำคนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่างมารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– สร้างเยาวชนต้นแบบ
– จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมาย ติดตามจุดต่าง ๆ ในชุมชน
– สร้างด่านตำบลถนนปลอดภัย
– จัดทำด่านมีชีวิต (บริการน้ำสมุนไพร, นวดคลายจุด, ผลไม้เปรี้ยว, ของที่ระลึกสวัสดีปีใหม่)
– ทำแคมเปญเช็คยานพาหนะฟรีช่วงปีใหม่
– ให้ อสม. หรือเจ้าหน้าที่ รพสต. คัดกรอง ตรวจประเมิน ดูแลคนดื่มเหล้าทั้งในและนอกพื้นที่
– ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่
– จัดตั้งชุดลาดตระเวน ให้สายตรวจดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– ลงนามความร่วมมือจัดกิจกรรมปีใหม่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่ และผู้นำท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
2. เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– คนต้นแบบที่ไม่เคยดื่มและเป็นบุคคลตัวอย่างรณรงค์ประชาสัมพันธ์
– การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– ให้อสม. หรือ เจ้าหน้าที่ รพสต. คัดกรอง ตรวจประเมิน ดูแลคนดื่มเหล้าทั้งในและนอกพื้นที่
– จัดตั้งชุดลาดตระเวรสายตรวจ ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– กำหนดพื้นที่ปลอดภัยในช่วงเทศกาล งานบุญประเพณี
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ให้ผู้ใหญ่บ้าน ส.องค์การบริหารส่วนตำบล อปพร. ชรบ. ตรบ. หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
3. เทศบาลตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– สร้างด่านมีชีวิต (บริการน้ำสมุนไพร, นวดคลายจุด, ผลไม้เปรี้ยว, ของที่ระลึกสวัสดีปีใหม่)
– ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
4. องค์การบริหารส่วนตำบลคูบ อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– สร้างด่านตำบลถนนปลอดภัย
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– สร้างด่านมีชีวิต (บริการน้ำสมุนไพร, นวดคลายจุด, ผลไม้เปรี้ยว, ของที่ระลึกสวัสดีปีใหม่)
– จัดให้สายด่วน อปพร. แจ้งเหตุ 24 ชั่วโมง ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– กำหนดพื้นที่ปลอดภัยในช่วงเทศกาล งานบุญประเพณี
– ผู้นำชุมชนเฝ้าระวังอุบัติเหตุ
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
5. องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าดี อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– นำคนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่างมารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– คนต้นแบบ ครอบครัวปลอดภัย
– จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– สร้างด่านตำบลถนนปลอดภัย
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– ให้อสม. หรือ เจ้าหน้าที่ รพสต. คัดกรอง ตรวจประเมิน ดูแลคนดื่มเหล้าทั้งในและนอกพื้นที่
– กิจกรรมทำดีเลิกเหล้าส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
– ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่
– จัดตั้งชุดลาดตระเวนสายตรวจ ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ ๒๔ ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
6. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 4 ครั้ง)

– ให้คนต้นแบบที่ไม่เคยดื่มและเป็นบุคคลตัวอย่าง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– สร้างเวทีกิจกรรมสร้างคนเลิกเหล้า
– จัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– กิจกรรมสานสายใยรักในครอบครัว เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเลิกเหล้า
– สร้างร้านค้าสีขาว ออกตรวจแนะนำการจำหน่ายแอลกอฮอล์
– กำหนดพื้นที่ปลอดภัยในช่วงเทศกาล งานบุญประเพณี
– จัดกิจกรรมปีใหม่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
7. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 3 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– นำคนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่างมารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– สร้างเยาวชนต้นแบบ
– การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– ทำข้อตกลงควบคุมอุบัติเหตุร่วมกันระหว่างตำบล (MOU ถนนปลอดภัยลดอุบัติเหตุ )
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– ด่านครอบครัวมาตรการชุมชน ลดอุบัติเหตุ
– ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
8. เทศบาลตำบลหนองหว้า อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– ให้คนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่าง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– สร้างเยาวชนต้นแบบ
– การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– อสม.หรือ เจ้าหน้าที่ รพสต.คัดกรอง ตรวจประเมิน ดูแลคนดื่มเหล้าทั้งในและนอกพื้นที่
– โฆษกสีขาว ประชาสัมพันธ์กับการลด ละ เลิกเหล้า
– ด่านครอบครัวมาตรการชุมชน ลดอุบัติเหตุ
– จัดตั้งชุดลาดตระเวนสายตรวจ ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
9. เทศบาลตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– ให้คนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่าง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– สวดมนต์ข้ามปี เริ่มต้นสิ่งดี ๆ ด้วยการลดเมา
– คัดกรองผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในด่าน
– จัดระบบข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ ขณะก่อนดำเนินงาน-หลังดำเนินงาน
– ด่านครอบครัวมาตรการชุมชน ลดอุบัติเหตุ
– ร้านค้าคุณธรรม ออกตรวจ แนะนำการจำหน่ายแอลกอฮอล์
– ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่
– จัดตั้งชุดลาดตระเวนสายตรวจ ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ ๒๔ ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– ผู้นำชุมชนเฝ้าระวังอุบัติเหตุ
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ส.องค์การบริหารส่วนตำบล อปพร. ชรบ. ตรบ. หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
10. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเหล่า อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างเยาวชนต้นแบบ
– คนต้นแบบ ครอบครัวปลอดภัย
– จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– คัดกรองผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในด่าน
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ ๒๔ ชั่วโมง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ผู้นำชุมชนเฝ้าระวังอุบัติเหตุ
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ส.อบต. อปพร. ชรบ. ตรบ. หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน
.
11. เทศบาลตำบลโนนศิลา อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 2 ครั้ง)

– คนต้นแบบ ครอบครัวปลอดภัย
– การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
– จัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– บูรณาการลดอุบัติเหตุทางถนน
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– การคัดกรองผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในด่าน
– จัดระบบข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ ขณะก่อนดำเนินงาน-หลังดำเนินงาน
– เจ็ดวันปลอดภัย หมู่บ้านปลอดเหล้า เมาไม่ขับ
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ 24 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
12. องค์การบริหารส่วนตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 1 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– นำคนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่าง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– การจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
– จัดกิจกรรมรณรงค์ในพื้นที่
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– กิจกรรมสานสายใยรักในครอบครัว เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเลิกเหล้า
– ด่านครอบครัวมาตรการชุมชน ลดอุบัติเหตุ
– ควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่
– จัดตั้งชุดลาดตระเวนสายตรวจ ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง ผู้ใหญ่บ้าน ส.องค์การบริหารส่วนตำบล อปพร. ชรบ. ตรบ. หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลร่วมกัน
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง
.
13. องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ (ปีที่แล้วเกิดอุบัติเหตุขึ้น 3 ครั้ง)

– สร้างบุคคลต้นแบบ/จิตอาสาในพื้นที่กล้าทำ กล้าคิด กล้าแสดงออกในการลดเมา ลดอุบัติเหตุ
– เยาวชนต้นแบบ
– นำคนต้นแบบที่ไม่เคยดื่ม และเป็นบุคคลตัวอย่าง มารณรงค์ประชาสัมพันธ์
– จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ป้ายเตือน สัญลักษณ์ การซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวถนน เพิ่มแสงสว่างในพื้นที่มืด
– ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
– จัดทำป้ายเตือนภัยบริเวณที่เป็นริมถนนสายหลัก และทำโปสเตอร์บทลงโทษตามกฎหมายติดตามจุดในชุมชน
– ด่านตำบลถนนปลอดภัย
– โฆษกสีขาว ประชาสัมพันธ์กับการลด ละ เลิกเหล้า
– การคัดกรองผู้ดื่มแอลกอฮอล์ในด่าน
– ด่านมีชีวิต (บริการน้ำสมุนไพร, นวดคลายจุด, ผลไม้เปรี้ยว, ของที่ระลึกสวัสดีปีใหม่)
– ด่านครอบครัวมาตรการชุมชน ลดอุบัติเหตุ
– จัดตั้งชุดลาดตระเวนสายตรวจ ดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ เฝ้าระวังการเกิดเหตุ
– จัดกิจกรรมปีใหม่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์
– จัดให้สายด่วน อปพร. เพื่อแจ้งเหตุ ๒๔ ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
– ประชุมองค์กรหลักในพื้นที่ประกอบด้วย ผู้นำท้องที่และท้องถิ่นในการขับเคลื่อน
– จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
– ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสรุปสถานการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชุมชนให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่อง