ภาคอีสานตอนบน ร่วมขับเคลื่อน “กิจกรรมรณรงค์สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ”

ภาคอีสานตอนบน ร่วมขับเคลื่อน “กิจกรรมรณรงค์สร้างภูมิ คุ้มนิเวศ”
.
“ZERO WASTE แฮด ECORISM” กิจกรรมรณรงค์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ ทต.บ้านแฮด อ.บ้านแฮด จ.ขอนแก่น และภาคีเครือข่าย พร้อม 3 ตำบลเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์นี้ ทต.บ้านแฮด จัดกิจกรรมการปั่นจักรยานเก็บขยะ และปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับรูปแบบของ SDG 15 ด้านการจัดการทรัพยากรป่าไม้ ในการจัดการกับพื้นที่สีเขียวนี้ จะส่งผลโดยตรงต่อการลดภาวะโลกร้อน และลดมลพิษทางอากาศ
.
ด้วย ทต.บ้านแฮด เล็งเห็นว่า หากพื้นที่ป่ากลับมาสมบูรณ์ได้ ก็จะทำให้เกิดความสมดุลของดินมากขึ้น (SDG 2) คืนความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ทรัพยากรทางน้ำให้มีคุณภาพได้ (SDG 6) อันเป็นเหตุมาจากการร่วมมือกันภายในชุมชนในการลดการทิ้งขยะ (SDG 12) โดยปัจจัยเหล่านี้ นำไปสู่การตระหนักและเกิดการเรียนรู้ พร้อมรับมือภาวะโลกร้อน (SDG 13) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ประสานการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน
.
กิจกรรมรณรงค์ลำดับถัดไป จาก อบต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม จัดกิจกรรมรณรงค์ “คาราวานรถน้ำมันยางนา สร้างผืนป่า ไทพิมาน” โดยมี 3 ตำบลและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ในครั้งนี้ด้วย โดยการรณรงค์ของ อบต.พิมาน คือ การจัดคาราวานรถไถนาเดินตาม ใช้น้ำมันยางนาในการร่วมขบวน พร้อมคาราวานจักรยานจากเด็กนักเรียน และคนในชุมชน เพื่อเดินทางไปปลูกป่ายางนา ซึ่งเป็นพืชพลังงานหมุนเวียน (SDG 7) และส่งเสริมการจัดการขยะเปียก ด้วยการทำเสวียนรักษ์โลกจำนวน 2 อัน (SDG 12) รวมทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นทีสีเขียวให้ชุมชน เสริมสร้างระบบนิเวศ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (SDG 15) อันนำไปสู่การเตรียมตัวเพื่อรับมือกับภาวะโลกร้อน (SDG 13) ซึ่งเป็นปัญหาหลักของความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบันนี้
.
และกิจกรรมรณรงค์ “ขยะเพื่อสังคม” จาก อบต.บ้านหยวก อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี และ 3 ตำบลเครือข่ายร่วมกิจกรรมรณรงค์ ในรูปแบบการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลที่ได้จากกองทุนขยะรีไซเคิล และการจัดการขยะเครือข่าย รับบริจาคขยะ ผ้าป่าขยะเข้ากองทุนอาสาทำดีฯ และฝากความดีกับธนาคารความดี การมอบรางวัลชุมชน และกิจกรรมสาธารณประโยชน์จากกองทุนขยะ เช่น ทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ปลูกต้นไม้ สร้างเสวียน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมรณรงค์เหล่านี้ มีความสัมพันธ์กับเป้าหมาย SDG ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ SDG 2 ขจัดความหิวโหย (ดิน), SDG 12 การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบ (ขยะชุมชน), SDG 13 การรับมือภาวะโลกร้อน (พัฒนาปฏิบัติการรับมือภาวะโลกร้อน) และ SDG 15 ระบบนิเวศบนบก (ป่าบก/ความหลากหลายทางชีวภาพ)
.
โดยกิจกรรมรณรงค์ทั้ง 3 กิจกรรมนี้ ได้ปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กและเยาวชน พร้อมยังสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนร่วมกัน อีกทั้งยังได้เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับป่า ทำให้เกิดแหล่งอาหารในชุมชนได้มากขึ้น เช่น เห็ดที่เกิดตามธรรมชาติ เป็นต้น และได้รับความร่วมมือในการจัดการขยะชุมชนด้วยการเก็บขยะเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนและตนเอง ทำให้คนในชุมชนเล็งเห็นประโยชน์ของการกำจัดขยะ ทำให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
.
#วันสิ่งแวดล้อมโลก
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส