‘ทต.ตำหนักธรรม’ ความเข้มแข็งของชุมชน คือหนทางรอดภายใต้วิกฤตโควิด-19!

‘ทต.ตำหนักธรรม’ ความเข้มแข็งของชุมชน คือหนทางรอดภายใต้วิกฤตโควิด-19!

องค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ หนึ่งในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่น น่าอยู่ สนับสนุนโดยสำนักสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยภาพรวมแล้ว ประชาชนในพื้นที่เป็นเกษตรกร มีการทำนา ทำสวนข้าวโพด ใบยาสูบ มีผู้สูงอายุคิดเป็น 27% และเด็ก 14%

ในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีคนในพื้นที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ เช่น เกาหลี กรุงเทพมหานคร และกลุ่มพื้นที่อื่น ๆ ทางภาคอีสาน อาทิ เพชรบูรณ์ และแถบจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลำปาง และลำพูน

ทางชุมชนได้จัดทำมาตรการในพื้นที่ ประสานความร่วมมือจากทั้ง 4 องค์กรหลัก คือ ท้องถิ่น โรงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำบลหนองม่วงไข่ โรงพยาบาลประจำอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และภาคประชาชน โดยมีการ ดำเนินการตามนโยบายและปฏิบัติการดังนี้คือ

  1. มาตรการตั้งจุดตรวจ
  2. ห้ามดื่มสุรา รวมกลุ่ม
  3. ทุกคนต้องมีหน้ากากอย่างน้อยคนละ 2 ชิ้น โดยชาวบ้านและท้องถิ่น ได้ร่วมกันทำแจกจ่ายในพื้นที่อย่างทั่ว ถึง
  4. มาตรการร่วมแรงร่วมใจ ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โดย 4 องค์กรหลัก ได้มาร่วมประชุม วางแผน รายงานผล ประเมินผล และตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
  5. มาตรการดูแลงานบุญ งานศพ งานรื่นเริง จะต้องมีการแจ้งผู้นำชุมชนทุกครั้ง
  6. มาตรการการฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องไวรัสโควิด-19 การดูแลปฏิบัติตัว การผลิตหน้ากากอนามัยและเจล
  7. มาตรการรณรงค์ ให้ความรู้ ข้อมูล ปลุกจิตสำนึก ผ่านทุกช่องทาง ทั้งโซเชียลมีเดีย เสียงตามสาย วิทยุชุมชน และวัด

 

การติดตาม เฝ้าระวัง รายงานบุคคลที่เดินทางกลับเข้ามาในพื้นที่ ถือเป็นหน้าที่ของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน โดยจะมีแบบฟอร์มประจำวัน ให้ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ออกสำรวจทุกอาทิตย์ และส่งไปยังโรงพยาบาลหนองม่วงไข่ โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแต่ละคน จะมีหน้าที่รับผิดชอบ ลูกบ้านในละแวกที่ตัวเองอยู่ ไม่เกิน 10 หลังคาเรือน

 

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือเป็นแกนกลาง ในการทำงานร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บุคลากรทางด้านสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ เรื่องการดูแล การตั้งด่าน ตรวจคนผ่านทาง ด่านหน้าถนนสายหลัก รวมทั้งการทำงานร่วมกับภาคประชาชน

 

ถือว่าประชาชนในพื้นที่มีการตื่นตัว มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือกัน ในสถานการณ์ไวรัสเป็นอย่างมาก ล่าสุด มีการขอความร่วมมือในการล้างตลาดสด ชาวบ้านได้ออกมาช่วยกันเป็นจำนวนมาก หรือการประกาศขอความ ร่วมมือ ช่วยเหลืออะไรในสถานการณ์ช่วงนี้ ประชาชนต่างออกมาช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่

 

นอกจากนี้ยังมีการวางนโยบาย ข้อกำหนดมาตรการปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด โดยผ่านสภาผู้นำชุมชนในแต่ละหมู่บ้าน ขณะที่ทีมตำบล หากเกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน จะมีคณะทำงานเป็น จุดประสาน เชื่อมต่อข้อมูลลงไปในพื้นที่ กระจายข่าว ถือเป็นการทำงานร่วมกัน ทั้งในส่วนของพื้นที่หมู่บ้าน และตำบล

 

ภายใต้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น พื้นที่ได้มีนวัตกรรมสังคม คือ ตัวจุดคัดกรอง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ยามประจำหมู่ บ้าน คอยคัดกรอง 4 จุด ภายในตำบล คนออกมาจากบ้าน หากไม่ใส่หน้ากาก ก็จะให้ความรู้กันแบบตัวต่อตัว ให้คำแนะนำ และสอบถามเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ใส่หน้ากากอนามัย

 

ในกระบวนการให้ความรู้ เผยแพร่ข้อมูล จะมีองค์กรศาสนาเข้ามามีส่วนร่วมในพื้นที่ คือ วัดต่าง ๆ หลวงพ่อ หรือพระในวัด จะมีการเทศนาสอดแทรก ให้ความรู้ การปฏิบัติตัวกับชาวบ้าน และบอกกล่าวถึงสถานการณ์การ แพร่เชื้อ วิธีการดังกล่าว ถือว่าได้ผลเป็นอย่างมาก เพราะชาวบ้านเชื่อพระ

สำหรับบรรยากาศในชุมชนจะค่อนข้างเงียบ ชาวบ้านลดการชุมนุม รวมกลุ่ม ดื่มสุรา ส่วนใหญ่จะอยู่ในบ้าน และปิดประตูบ้านค่อนข้างเร็ว งานกิจกรรม งานบุญ งานรื่นเริงต้องได้รับอนุญาตก่อนเท่านั้น ในขณะที่งานศพ ซึ่งจำเป็นและยังมีคนต้องมารวมกลุ่มกันนั้น ได้มีการวางมาตรการ การลดงานเลี้ยงในงาน เลี่ยงการเลี้ยงสุรา อาหาร เน้นให้มีการดำเนินการด้านพิธีอย่างรวดเร็ว

ในส่วนของการกักตัวในพื้นที่ กลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ต้องกักตัว 14 วัน มีการแบ่งแยก ให้อยู่ต่างหาก เฉพาะห้อง โดยมีกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือจิตอาสา ที่คอยติดตาม เฝ้า ระวัง และเก็บข้อมูล

ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จะต้องมีอุปกรณ์ป้องกันตัวอย่าง หน้ากากอนามัยและเจลทุกคน และ ด้วยการสนับสนุนของเทศบาล ตอนนี้ชาวบ้านทุกคนในชุมชน มีหน้ากากอนามัยใช้ คนละไม่ต่ำกว่า 2 ชิ้น

ทั้งนี้ ถือว่าทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก เป็นทีมนำร่อง คอยทำงานร่วมกับทีมใหญ่ คือทีมตำบล จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่เข้าไปดูแล ให้ความรู้ และ คอยเฝ้าระวัง

โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะคอยสำรวจข้อมูล เพื่อส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทุกวัน เวลาไม่เกินเที่ยง ผ่านไลน์ หรือนำแบบฟอร์มไปส่งด้วยตัวเองที่โรงพยาบาล แล้วแต่ความสะดวก

นอกจากนี้ ยังทำงานควบคู่ไปกับการรณรงค์ในพื้นที่ โดยจะส่งคลิปข่าว ข้อมูล จากโรงพยาบาลมหาราช ไปยัง กลุ่มไลน์และเฟซบุ๊กของแต่ละหมู่บ้าน และชุมชน เพื่อกระจายข้อมูลอย่างทั่วถึง โดยก่อนหน้านี้ ทางชุมชนก็มี กลุ่มโซเชียลอยู่แล้ว เพียงแต่มีการเพิ่มกลุ่มเพื่อต่อยอด และมุ่งเน้นไปในการกระจายข่าวสารประเด็นไวรัสโควิด เป็นหลักมากขึ้น

สำหรับการทำงานของจิตอาสานั้น มีกลุ่มจิตอาสาที่เรียกตัวเองว่า กลุ่มจิตอาสา โดยมีทั้งเด็ก เยาวชน ชาวบ้านวัยทำงาน ผู้เฒ่าผู้แก่ รวมตัวกันทำกิจกรรม เช่น ล้างตลาด รณรงค์ความสะอาด รวมทั้งกลุ่มร้านค้า ที่มีการบริจาคสิ่งของ สนับสนุนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโควิดขณะนี้

ด้านการดูแลสุขภาพจิตของคนที่ถูกกักตัว และผู้สูงอายุ ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจะเข้าไปให้ความรู้ ชวนพูดคุย สอนฝึกสมาธิ หรือนำหนังสือธรรมะไปให้ รวมทั้งไปสอนเล่นโยคะ ออกกำลังกายด้วยท่าไม้ พลอง และเต้นแอโรบิก

โดยรวมแล้ว ถือว่าประชาชนให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก ในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการที่ ออกมา ถือเป็นความสามัคคีแบบฉับพลันโดยไม่ได้นัดหมาย ชาวบ้านต่างมีจิตสำนึกออกมาร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อป้องกัน ดูแล ทั้งตัวเองและชุมชน

ชาวบ้านที่นี่ เมื่อเห็นปัญหาก็ออกมาช่วยกัน โดยไม่ต้องรอให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือ พวกเขาจะเริ่มต้นด้วยตัวเอง ทำกันเองก่อน เช่น การผลิตหน้ากากอนามัยจนทำให้มีใช้ 100% ในพื้นที่ นี่คือพลังสามัคคี ที่น่าชมเชยทั้งใน ระดับผู้นำชุมชน และระดับตำบล เป็นพลังที่จะทำให้ชุมชนฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปได้

 

#อยู่บ้านหยุดเชื้อช่วยชาติ
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส