รู้จัก SDGs

เมื่อเดือนกันยายน 2558 ในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 70 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

ได้รับรอง “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals: SDGs)
ซึ่งถือเป็นวาระแห่งการพัฒนาของโลก

ในช่วงระหว่างปี 2558-2573

SDGs
มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการต่อสู้กับปัญหาความยากจน
และปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แตกแขนงออกมา 17 เป้าหมาย

เพื่อให้นานาประเทศได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ โดยประเทศไทยได้ตอบรับแนวทางดังกล่าว ผ่านการบรรจุแนวนโยบายขับเคลื่อนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รวมถึงแผนการปฏิรูปประเทศไทย

จากการประเมินแนวทางของ SDGs กับ การขับเคลื่อนงานของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พบว่า ตัวชี้วัดบางส่วนภายใต้ยุทธศาสตร์ไตรพลัง (พลังการเรียนรู้ พลังเครือข่าย และพลังการจัดการ) ปรากฏผลต่างๆ เป็นรูปธรรมและเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการพัฒนาศักภาพการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยและการพัฒนาของโลกในลำดับต่อไป

การแยกกลุ่มเป้าหมายของการยั่งยืน
กลุ่มที่ 1 “ระบบนิเวศของชุมชน”
ประกอบด้วย

เป้าหมายที่ 6 สร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและสุขอนามัยสำหรับทุกคน และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการบริโภคและผลิตที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเลและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้การกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟื้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

การแยกกลุ่มเป้าหมายของการยั่งยืน
กลุ่มที่ 2 “เศรษฐกิจพอเพียงและความมั่นคงชุมชน”
ประกอบด้วย

เป้าหมายที่ 7 สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน

เป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

เป้าหมายที่ 9 สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ทีความทนทาน ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

เป้าหมายที่ 11 ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทาน และยั่งยืน

 

การแยกกลุ่มเป้าหมายของการยั่งยืน กลุ่มที่ 3 “เท่าเทียม ทั่วถึง ชุมชนเกื้อกูล” ประกอบด้วย

เป้าหมายที่ 1 ยุติความยากจนทุกรูปแบบในทุกที่
เป้าหมายที่ 2 ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวั
เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าหมายที่ 5 บรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและให้อำนาจของผู้หญิงและเด็กหญิงทุกคน
เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบัน ที่มีประสิทธิผล รับผิดรับชอบ และครอบคลุม ในทุกระดับ