“ลดเมา เพิ่มสุข”ปี61ตั้งเป้าอุบัติเหตุเป็นศูนย์

 

 

“ลดเมา เพิ่มสุข”  ปี61Drink Less Add Happiness  ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยชุมชนท้องถิ่น 

        Q   ลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยชุมชนท้องถิ่นสร้างมาตรการทางสังคมควบคู่กับการนำใช้กฎหมายโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกขับเคลื่อนร่วมกับชุมชน

        Q ส่งเสริมการสร้างครอบครัว และชุมชนต้นแบบในการลดอุบัติเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

  Qกำหนดนโยบายสาธารณะควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่

 

      Qหนุนเสริมให้มีครอบครัวต้นแบบ ที่เป็นนักดื่มแล้วเลิก และ ผู้ที่ไม่เคยดื่ม เพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

    Q ร่วมกันในกลุ่มองค์กร ให้โอกาสแก่นักดื่มให้สามารถเลิกดื่มด้วยการสร้างเสริมคุณค่าทางจิตใจ การเพิ่มสิทธิในการได้รับสวัสดิการและโอกาสในการทำงาน และ เป็นนักรณรงค์                               

 

 Qจัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบ ด้วยการนำใช้กฏกติกาของชุมชนในการควบคุมการดื่ม และการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ผ่านงานบุญประเพณี และโอกาสสำคัญของชุมชน 

Qเสริมบริการและนโยบายสาธารณะ   โดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการควบคุมการดื่มและการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่ม ด้วยการเสริมศักยภาพของกลไกในพื้นที่ให้ทำหน้าที่ เช่น การลดและควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การจัดากรจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน       

Qสร้างเครือข่ายท้องถิ่น ในการร่วมกันกำหนดเขตความปลอดภัยเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น การลงนามความร่วมมือในการลดอับติเหตุ การสร้างด่านชุมชนเป็นเครือข่าย การจัดงานบุญประเพณีปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอลฯร่วมกัน                       

 

 

การรณรงค์ ลดเมา เพิ่มสุข ปี ๒๕๖๑

 

  • แนวคิดการรณรงค์

          ศูนย์สนับสุนนวิชาการเพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(ศวฉ.แอลฯ) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ดำเนินการขับเคลื่อนการสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างมาตรการและกิจกรรมเพื่อการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องทั้งในช่วงเวลาปกติ อันเป็นวิถีของชุมชนและช่วงเทศกาลสำคัญอันเป็นโอกาสในการลด ละ เลิก การดื่ม เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันเฉลิมพระชมพรรษา ฯลฯ โดยกำหนดชื่อรณรงค์ว่า “ลดเมา เพิ่มสุข”

และจากการการณรงค์ช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา ศวฉ.แอลฯ ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ได้ดำเนินขับเคลื่อนรณรงค์กิจกรรม “ลดเมา เพิ่มสุข : ปฏิบัติการ พรรษานี้งดเหล้าเพื่อพ่อ ระหว่างวันที่ ๙ กรกฎาคม ถึง ๕ ตุลาคม ๒๕๖๐ เพื่อสร้างจิตสำนึกและแรงกระตุ้นให้ชุมชนท้องถิ่นร่วมทำความดีในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาในการ ลด งด เหล้าและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ครบ ๓ และ ๖ เดือนโดยมีจากจำนวน ๑๑๑ อปท.เครือข่ายได้ทำการลงสมัครเข้าร่วมและขยายผลไปยังสมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ผลการดำเนินการมีคนสมัครใจงดเหล้าเข้าพรรษานี้จำนวน ๙,๙๖๒ คน มีครอบครัวต้นแบบงดเหล้าจำนวน ๘,๕๔๐ ครอบครัว เกิดคนต้นแบบเลิกเหล้าเป็นนักรณรงค์ ๑๘๘ คน และมีคนสมัครใจเลิกเหล้าตลอดชีวิตจำนวน ๔๐ ราย ส่งผลดีในด้านเศรษฐกิจและสุขภาพของครอบครัวและชุมชน

จากข้อมูลของข้อมูลศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุรายงานอุบัติเหตุทางถนนในปี ๒๕๕๙ ช่วง ๗ วันอันตราย (๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ – ๔ มกราคม ๒๕๕๙) พบอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น อุบัติเหตุสะสมรวม ๓,๓๗๙ ครั้ง สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเป็นหลักเกิดจากการเมาแล้วขับ ร้อยละ ๒๕.๐๖ รองลงมาขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ ๑๗.๐๑ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ ๘๑.๘๒ รองลงมา รถปิกอัพ ร้อยละ ๘ ส่วนใหญ่เกิดในถนนทางตรง ร้อยละ ๖๑.๗๘ ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ ๓๖.๘๒ ถนนในหมู่บ้าน ร้อยละ ๓๖.๔๙

ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(ศวฉ.แอลกอฮอล์) จึงเห็นความสำคัญในการสร้างความร่วมมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมเป็น “กลไก” ในระดับพื้นที่ ควบคุมการดื่มแลการลดอุบัติเหตุอันมาจากการดื่มในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกำหนดการรณรงค์ออกเป็นสองแนวทางคือ โดย (๑)การรณรงค์ การลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในภาวะปกติ (๒)การใช้โอกาสช่วงเทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

  • เป้าหมายการดำเนินงาน
  • เพื่อรณรงค์การลดสถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยชุมชนท้องถิ่น
  • เพื่อสร้างมาตรการทางสังคมควบคู่กับการนำใช้กฎหมายโดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกลไกขับเคลื่อนร่วมกับชุมชน
  • เพื่อส่งเสริมการสร้างครอบครัว และชุมชนต้นแบบในการลดอุบัติเหตุจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • เพื่อให้มีการกำหนดนโยบายสาธารณะควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่

 

  • กลุ่มเป้าหมายในการรณรงค์
  • ศูนย์ประสานงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งและเครือข่ายจำนวน ๑๖๐ อปท.
  • เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ๒๐๐ อปท.

 

  • แนวทางการดำเนินงาน

แนวทางการดำเนินงานสร้างให้ชุมชนท้องถิ่นเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนให้เกิด ครอบครัว ชุมชน/หมู่บ้าน นโยบายสาธารณะระดับตำบลและการให้บริการสาธารณะ แก่ประชาชนเพื่อร่วมสร้างชุมชนให้ลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดการเกิดอุบัติเหตุจราจร อันเป็นสาเหตุหลักของความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของครอบครัว และส่งผลกระทบต่อชุมชน ด้วยการสร้างมาตรการในการดำเนินงานที่ ประกอบด้วย ๖ ระดับ ประกอบด้วย (๑)ระดับครอบครัว (๒)ระดับกลุ่มและองค์กร (๓)ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน (๔)ระดับหน่วยงาน  (๕)ระดับตำบลผลผลิต/ผลลัพธ์ และ (๖)ระดับเครือข่าย ซึ่งจะออกแบบตามบริบทของแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น

  • ระดับครอบครัว

               เป้าหมาย

๑.๑ มีครอบครัวนักดื่ม[1]สมัครเข้าร่วมโครงการ “คนต้นแบบ ครอบครัวปลอดภัย” อย่างน้อย ๕๐ ครอบครัว/อปท.

๑.๒ ลดการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับของครอบครัว

๑.๓ ลดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ

 

กิจกรรมที่ดำเนินงาน เช่น

  • กิจกรรม “คนต้นแบบ ครอบครัวปลอดภัย”

การสร้างบุคคลต้นแบบที่เป็นนักดื่มแล้วเลิก และ ผู้ที่ไม่เคยดื่ม เพื่อเป็นตัวอย่างในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการสร้างผลกระทบภายในครอบครัว เช่น การสูญเสีย และปัญหาความรุนแรง โดยการมอบเกียรติบัตร การประกาศเกียรติคุณ หรือการยกย่องเชิดชูจากคนภายในพื้นที่

  • กิจกรรม “สานสายใยรักในครอบครัว เริ่มต้นปีใหม่ด้วยการเลิกเหล้า”

การกระตุ้นให้ครอบครัวเป็นแรงบันดาลใจ ให้ผู้ดื่มใช้โอกาสในช่วงเทศกาลปีใหม่ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อคนที่รัก

  • กิจกรรม “ด่านครอบครัวมาตรการชุมชน ลดอุบัติเหตุ”

               การใช้ครอบครัว เพื่อตักเตือน สกัด ควบคุม และสร้างเงื่อนไขสัญญาใจ โดยอาจไม่ได้เป็นลักษณะการตั้งด่านจริงๆ แต่มุ่งหวังเพื่อไม่ให้บุคคลในครอบครัวที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้วขับยวดยานพาหนะออกนอกบ้านในช่วงเทศกาล งานบุญประเพณี หรืองานอื่นๆ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ในครอบครัวและบุคคลอื่น หากครอบครัวมีการปล่อยให้คนเมาออกมาขับขี่ยานพาหนะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในหมู่บ้าน

  • และกิจกรรมอื่นๆที่เป็นการกระตุ้น ให้กำลังใจ หนุนเสริมครอบครัวที่ไม่ดื่มและ เชิดชูครอบครัวที่เลิกดื่มให้เป็นต้นแบบ

  

            (๒) ระดับกลุ่มทางสังคมและแหล่งการเรียนรู้

                 เป้าหมาย

๒.๑ เพื่อเปิดพื้นที่ให้โอกาสทางสังคมแก่นักดื่มและเป็นการสร้างเสริมคุณค่าทางจิตใจ และผันไปเป็น “คนดี คนเด่น” ของชุมชนต่อไป

๒.๒ เพื่อลดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ

      

                 กิจกรรมที่ดำเนินงาน             

  • กิจกรรม “กองทุนทำดี พื้นที่ปลอดเหล้า”

                    การสร้างกฎกติกาหรือข้อตกลงของกลุ่มในการควบคุมการการดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มอาชีพ กำหนดในสมาชิกห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะทำงาน หากพบปรับเป็นเงินจำนวน ๒๐๐ บาท แล้วนำเข้ากองทุนเพื่อใช้ประโยชน์หรือดำเนินกิจกรรมอื่นๆภายในกลุ่ม

  • กิจกรรม “เมาแล้วขับ งดรับสวัสดิการ

การสร้างกฎกติกาหรือข้อตกลงของกลุ่มในการรับสวัสดิการ เช่น หากดื่มแล้วขับตั้งแต่ ๒ ครั้งขึ้นไปภายในระยะเวลาที่กำหนดจะถูกตัดสวัสดิการที่พึงได้ ได้แก่ สวัสดิการการรักษาพยาบาล เงินรับขวัญเด็กแรกเกิด เป็นต้น สมาชิกกลุ่มให้กำลังใจซึ่งกันและกันและคอยสอดส่องดูแลตักเตือนสมาชิกภายในกลุ่มด้วยกันเอง

  • กิจกรรม “กลุ่มจิตอาสาขอทำดีชุมชนนี้ไม่มีเหล้า”

การแต่งตั้งคณะทำงาน “กลุ่มจิตอาสาขอทำดีชุมชนนี้ไม่มีเหล้า” โดยการนำสถานการณ์ในชุมชนเป็นตัวตั้ง เช่น ช่วงเทศกาลปีใหม่ ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ช่วยเหลือผู้ที่มีพฤติกรรดื่มแล้วขับ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มแล้วขับ ร่วมถึงสถานการณ์ต่างๆในพื้นที่ เพื่อการสร้างความปลอดภัย

  • กิจกรรม “ปีใหม่ปลอดภัย เมาเมื่อไหร่ก็โทรมา”

                    กิจกรรมปีใหม่ปลอดภัย เมาเมื่อไรก็โทรมา เป็นแนวทางการป้องกันและช่วงเหลือผู้ที่มีพฤติกรรมเมาแล้วขับให้กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย

  • กิจกรรม “ทำดีเลิกเหล้าส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่”

                    การรวมกลุ่มกันสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสุราทำกิจกรรมสร้างความดีเพื่อตนเอง ครอบครัว และสังคม โดยอาศัยช่วงเทศกาลปีใหม่ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการดื่มเหล้าช่วงเทศกาลมาร่วมกันทำความดี โดยการทำกิจกรรมเลิกเหล้าและกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ในชุมชน

  • และกิจกรรมอื่นที่กลุ่มองค์กรทางสังคมได้จัดให้มีขึ้น เพื่อเป็นกติกา ข้อบังคับ หรือ การให้กำลังใจแก่สมาชิกกลุ่มที่เลิกดื่ม

 

              (๓) ระดับหมู่บ้าน / ชุมชน         

                 เป้าหมาย

                    ๓.๑ เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุจราจรจากการเมาแล้วขับ

๓.๒ เกิดหมู่บ้านปลอดเหล้า เมาไม่ขับ เพื่อเป็นหมู่บ้านต้นแบบในการขยายผลต่อไป

 

                 กิจกรรมที่ดำเนินงาน             

  • กิจกรรม “เจ็ดวันปลอดภัย หมู่บ้านปลอดเหล้า เมาไม่ขับ”

จัดทำพิธีลงนามความร่วมมือ (MOU) งดเหล้าในช่วง ๗ วันอันตราย ระยะเวลากิจกรรมตั้งแต่ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ ถึง ๔ มกราคม ๒๕๖๑ ในการทำสัญญากับแกนนำชุมชน กำนันผู้ใหญ่บ้าน (หรือเป็นบุคคลที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธา เช่น ผู้นำทางศาสนา)

  • กิจกรรม “ชุมชนเฝ้าระวังอุบัติเหตุ”

                         จัดตั้งจุดตรวจบริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ ที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยมี ผู้ใหญ่บ้าน, ส.อบต., อปพร., ชรบ., ตรบ. หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับผิดชอบดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ร่วมกัน

  • กิจกรรม “ด่านชุมชนเทศกาลปีใหม่ ๒๕๖๑”

การจัดตั้งด่านชุมชนในจุดสันจรเข้าออกชุมชนในพื้นที่ ๑ หมู่บ้าน หรือ ๑ ชุมชน /๑ ด่านชุมชน เพื่อสกัดกลุ่มเสี่ยงและลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการใช้รถใช้ถนนของคนในพื้นที่ อาทิ  เมาแล้วขับ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นต้น

  • กิจกรรม “ธงแดงสัญลักษณ์ความตายลดอุบัติภัย-อุบัติเหตุข้างถนน”

สร้างค่านิยมให้ชุมชนใช้ธงแดงเป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์ลดอุบัติเหตุ-อุบัติภัยบนถนน ติดตั้งในจุดที่เกิดอุบัติเหตุในชุมชน เพื่อให้ประชาชนพบเห็นระมัดระวัง มีสติในการขับขี่ หรือใช้ชีวิตบนความไม่ประมาท

  • กิจกรรม “กำหนดพื้นที่ปลอดภัยในช่วงเทศกาล งานบุญประเพณี”

ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างร้านค้าและประชาชนในชุมชน กำหนดพื้นที่ปลอดภัยจากการจำหน่ายหรือ/และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล งานบุญประเพณีในชุมชน การทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างร้านค้าและประชาชนในชุมชน ห้ามขายเหล้าในช่วง ๗ วันอันตราย ตั้งแต่วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑

  • กิจกรรม “อสม.เตือนภัย”

ผู้ที่ดูแลปัญหาสุขภาพภายในหมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก้ อสม. เป็นหลักในการให้ความรู้ โทษ-ภัย จากการดื่มแอลกอฮอล์ที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพ สร้างความตระหนัก สร้างค่านิยมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป

  • กิจกรรม “ด่านชุมชนสร้างสรรค์ ปีใหม่ปลอดภัย”

                    ด่านชุมชน เป็นด่านที่ใช้สกัดกั้นคนในหมู่บ้านในการเข้าหรือออกทั้งในยามปกติหรือยามช่วงเทศกาลสำคัญอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่การเสริมสร้างความเข้มแข็งของแต่ละด่านในชุมชนมีความแตกต่างกัน การประกวดด่านชุมชนระหว่างหมู่บ้าน จะช่วยในการทำให้ด่านมีชีวิต มีความเคร่งครัดมากขึ้นในการสร้างความปลอดภัยให้กับคนในชุมชน

  • และกิจกรรมอื่นที่หมู่บ้านได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมที่รณรงค์ให้เกิดการลด ละ เลิก การดื่ม ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์ในรูปแบบต่างๆ พร้อมทั้งการกำหนดมาตรการในการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มในชุมชน

 

              (๔) ระดับหน่วยงาน

                   เป้าหมาย

                  เพื่อส่งเสริมให้เกิดหน่วยงานต้นแบบ ที่เอื้อให้เกิดการลด ละ เลิกการดื่มและการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่ม อันประกอบด้วย โรงเรียน ร้านค้า สถานประกอบการ สถานที่ราชการและเอกชนในพื้นที่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ ๑ ตำบลไม่น้อยกว่า ๑ แห่ง

 

        กิจกรรมที่ดำเนินงาน

  • กิจกรรม “การลงนามความร่วมมือจัดกิจกรรมปีใหม่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์”

ทำพิธีการลงนามความร่วมมือ (MOU) งดเหล้าในการจัดงานเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในหน่วยงานและองค์กร

  • กิจกรรม “แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางสังคม”

เชิญบุคลากรหน่วยงาน องค์กร ในชุมชนร่วมกิจกรรมการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางสังคม จัดนิทรรศการภายในฐาน แสดงผลงานที่เป็นข้อมูลต่าง

  • กิจกรรม “ร้านค้าต้นแบบ”

ตั้งกฎกติการ้านค้าต้นแบบงดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในหมู่บ้านหรือชุมชน โดยอาจแบ่งออก ๔ ประเภท ดังนี้ (๑)ร้านค้าไม่ขายเหล้าทุกวันพระและช่วงเทศกาล (๒) ร้านค้าขายเหล้าตามช่วงเวลาที่กฎหมายกำหนด คือ ช่วงเวลา ๑๑.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. และ ๑๗.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. (๓) ร้านค้าไม่ขายเหล้าให้เด็กอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี (๔) ร้านค้าต้นแบบไม่ขายเหล้า และการเชิดชูร้านค้าที่เข้าร่วมให้เป็น ร้านค้าต้นแบบ

  • กิจกรรม “แคมเปญเช็คยานพาหนะฟรีก่อนปีใหม่”

การตั้งจุดตรวจสอบตรวจสอบสภาพรถจักยานยนต์ และรถยนต์เพื่อลดอุบัติเหตุอันเกิดจากสภาพรถไม่พร้อมใช้งานในการเดินทาง

  • กิจกรรม ลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษาสร้าง “เยาวชนเฝ้าระวังภัย”

          ปัจจุบันผู้ที่พฤติกรรมเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้นจะอยู่ในช่วงของเด็กและเยาวชน การที่จะลดความเสี่ยงให้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้ จะต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือร่วมกับสถานศึกษาในการนำเด็กมาเป็นจิตอาสา เพื่อเฝ้าระวังภัยในเขตพื้นที่ของตนเอง สร้างการปลูกฝังจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้กับเด็กและเยาวชนที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

  • และกิจกรรมอื่นๆที่หน่วยงานในพื้นที่ได้กำหนดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้บุคคลากร ลด ละ เลิกการดื่ม และควบคุมพื้นที่และจัดพื้นที่สร้างสรรค์ให้มีการออกกำลังกายหรือแสดงออกในทางบวก พร้อมทั้งการกำหนดมาตรการในการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่ม ในหน่วยงาน

  

              (๕) ระดับตำบล

                 เป้าหมาย

๕.๑ เพื่อรณรงค์สร้างจิตสำนึกในเรื่องดื่มไม่ขับให้กับคนในชุมชน

๕.๒ สร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆในตำบลและสร้างให้เกิดจิตสำนึกในการรับผิดชอบส่วนรวม

๕.๓ เพื่อลดจำนวนการเกิดอุบัติเหตุจราจรที่เกิดจากการเมาแล้วขับให้เป็นศูนย์

 

                 กิจกรรมที่ดำเนินงาน เช่น

  • กิจกรรม “ปั่นรณรงค์ลดเหล้าลดอุบัติเหตุ”

เส้นทางการปั่นคือปั่นจักรยานไปเยี่ยมครอบครัวปลอดเหล้า หมู่บ้านปลอดเหล้ากลุ่มปลอดเหล้าหรือจุดที่มีการทำกิจกรรมปลอดเหล้าในช่วงเทศกาลปีใหม่ เป็นต้น

  • กิจกรรม “เสริมสร้างถนนปลอดภัย”

        การสำรวจประเมินจุดเสี่ยงบนถนนสายหลักและชุมชน ร่วมกับการปรับปรุงถนนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางท้องถนน เช่น ถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ สัญญาณไฟ ป้ายเตือน จุดชะลอความเร็วบริเวณทางโค้ง จุดตัด แยกต่างๆ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงและโค้งอันตราย

  • กิจกรรม “ด่านตำบลถนนปลอดภัย”

ตั้งด่านตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ บริเวณทางเข้า–ออกถนนสายหลักในตำบลจัดให้มีการบริการผู้สัญจรที่มีภาวะเสี่ยงต่อการขับขี่ เช่น มีอาการง่วงนอนเมาสุรา หรือมีอาการที่ประเมินเบื้องต้นแล้วเห็นว่าอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นในการขับขี่

  • กิจกรรม “จุดพักเมา/ฝากรถ เมาไม่ขับ

ตั้งด่านบริเวณจุดเสี่ยงโดยตรวจวัดแอลกอฮอล์สำหรับผู้ที่ดื่ม และเป็นจุดบริการสำหรับผู้ที่ดื่มหนักไม่ให้ขับขี่ออกไปนอกเขตพื้นที่ให้จอดพักรถจนหายจากอาการมึนเมาตรงบริเวณด่านตรวจ หรือสามารถฝากรถไว้บริเวณด่านตรวจและให้ญาติมารับกลับ เพื่อเป็นการสกัดคนเมาไม่ให้ขับขี่ออกไปข้างนอกเป็นการป้องการกันการเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ

  • กิจกรรม “ห่วงหัว”

การขับขี่รถจักรยานยนต์ภายในชุมชนส่วนใหญ่พบการไม่สวมหมวกนิรภัย ฉะนั้นการสร้างค่านิยมและการตระหนักในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นของคนในชุมชน จึงเกิดเป็นการบริการให้ยืมหมวกนิรภัยเพื่อลดปัญหาการสูญเสียหรือบาดเจ็บ โดยมีระบบจัดเก็บข้อมูลและติดตาม

  • กิจกรรม “อนุสาวรีย์เตือนภัย”

การใช้รถใช้ถนนบนเส้นทางหลวง มีอัตราการขับขี่ที่เร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด การสร้างสัญลักษณ์ที่เป็นการเตือนภัย จะช่วยให้ผู้ขับขี่เกิดความตระหนักถึงความปลอดภัยต่อตนเองและผู้ร่วมเดินทางได้

  • กิจกรรม “สมุนไพรใส่รัก แวะพัก ปลอดภัย”

การเมื่อยล้าจากการขับขี่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน การสร้างจุดบริการน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสร้างค่านิยมในการลดการดื่มแอลกอฮอล์ในระหว่างการขับขี่ และการให้บริการจุดนอนพัก หรือนวดสมุนไพรเพื่อผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดจากภาวะรถติดในช่วงเทศกาล

  • และกิจกรรมอื่นที่ ที่ท้องถิ่นได้กำหนดขึ้น เพื่อส่งเสริม ให้กำลังใจผู้ดื่มแล้วต้องการเลิก และ ผู้ที่เลิกดื่มได้สำเร็จ พร้อมทั้งการกำหนดมาตรการในการป้องกันและควบคุมการเกิดอุบัติเหตุจากการดื่มด้วยการเสริมบริการสาธารณะของท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ

 

              (๖) ระดับเครือข่าย

                 เป้าหมาย

๖.๑ ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ระดับเครือข่าย

๖.๒ ลดจำนวนอุบัติเหตุในพื้นที่ร่วมกันระหว่างเครือข่าย ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ – วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๑

  

                 กิจกรรมที่ดำเนินงาน

  • กิจกรรม “ทำข้อตกลงควบคุมอุบัติเหตุร่วมกันระหว่างตำบล”

การเฝ้าระวังการควบคุมอุบัติเหตุเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจะต้องอาศัยความร่วมมือกับตำบลข้างเคียง หรือหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมกันลดอุบัติเหตุตามเส้นทางสายยาว

  • กิจกรรม “จัดงานฉลองเทศกาลปีใหม่ปลอดภัยร่วมกันระหว่างตำบล”

ในเขตความรับผิดชอบของแต่ละพื้นที่ ช่วงเทศกาลปีใหม่จะมีการจัดงานรื่นเริงสังสรรค์ แต่ที่ผ่านมามักพบปัญหาการทะเลาะวิวาทอันมีสาเหตุหลักมาจากการเมาสุรา การลดปัญหาดังกล่าวจึงต้องอาศัยการดำเนินงานร่วมกันระหว่างเขตพื้นที่ เพื่อสร้างปีใหม่ปลอดภัยและลดการบาดเจ็บหรือสูญเสีย

  • กิจกรรม “จัดทำเขตความปลอดภัยบนท้องถนนร่วมกันระหว่างตำบล”

                    แต่ละพื้นที่จะมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ข้างเคียง และบางจุดที่ใช้ระหว่างการสัญจรไปมาเป็นจุดเสี่ยงอันตราย การร่วมกันจัดการจุดเสี่ยง สร้างถนนปลอดภัยจะเสริมสร้างความสามัคคีและสร้างการเตือนภัยร่วมกัน

  • กิจกรรม “ท่องเที่ยว ลดเหตุ”

ในช่วงเทศกาลจะมีการเดินทางเพื่อเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และมักพบปัญหาอุบัติเหตุระหว่างเส้นทาง พบปัญหาขยะในสถานที่ท่องเที่ยว หรือพบการเสียชีวิตที่มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ การร่วมกันจัดการสถานการณ์ดังกล่าวระหว่างหน่วยงาน ท้องถิ่น และท้องที่จะเป็นกลไกสำคัญในการลดปัญหาดังกล่าวลงได้ และเสริมสร้างความปลอดภัยได้ในระยะยาว

 

  • การสื่อสาร ให้ทำการสื่อสารกิจกรรมผ่านช่องทางดังนี้
  • ช่องทางไลน์ (Line) ให้เครือข่ายท้องถิ่นที่ร่วมรณรงค์เข้าร่วมไลน์ “รณรงค์แอลกอฮอล์” และสื่อสารภาพกิจกรรมและข้อความที่อธิบายการทำกิจกรรม โดยให้ใส่รูปเป็นอัลบั้ม
  • ช่องทางเฟชบุค(facebook) ให้เข้าเป็นสมาชิก “ศูนย์ประสานงานเครือข่ายควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุฯ” และโพสข่าวกิจกรรมทั้งแบบ Live สดและรายงานกิจกรรม และลงท้ายด้วย # ลดเมา เพิ่มสุขปี ๖๑
  • สื่อสารใน website ของตำบล แล้วส่งข่าว share เข้ามาในไลน์ เพื่อเข้า link ข้อมูลได้

 

 

 

 

 

 

 

 ภาพกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบ

แนวทางการรณรงค์ลดเมา เพิ่มสุขปี ๒๕๖๑

 วันที่ ๑๖ – ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๐

ตัวอย่างการออกแบบกิจกรรมการรณรงค์ ลดเมา เพิ่มสุข ปี ๒๕๖๑

ลำดับ รูปแบบ กิจกรรม เป้าหมาย
ลดเมา เพิ่มสุข : ปีใหม่เดินทางปลอดภัย เมื่อผ่านมาบ้านต้ำ

(ทต.บ้านต๊ำ)

กิจกรรม 

๑) มีจุดบริการหมวกกันน็อค

๒) มีการเก็บข้อมูลสถิติ

๓) มีการนำเสนอข้อมูลสถิติ

๔) มีการตั้งด่านบริการน้ำสมุนไพร /มะขามป้อม

๕) บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆในการจัดกิจกรรมรณรงค์ช่วงเทศกาล

๖) สวดมนต์ข้ามปี/มีกิจกรรมต้นกล้าอาสา มีกองสะบัดชัย มีการมอบรางวัล ใบอนุโมทนาขอให้งดเหล้าในวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิด วันสำคัญทางศาสนา

๗) การจัดการความปลอดภัยบนท้องถนน

๑.ลดอุบัติเหตุเป็น ๐

๒.เพิ่มบุคคลต้นแบบ ร้านค้า ครอบครัว ลดจำนวดผู้สูบบุหรี่ ลดจำนวนผู้ป่วยโรคเครียด

ลดเมา เพิ่มสุข : เจ็ดวัน ไม่อันตรายที่ร่องเคาะ

(อบต.ร่องเคาะ)

๑) ด่านบูรณาการ ๓ ต (เตรียมตัว ตั้งด่าน ติดตาม) ๓ ม(ไม่เมา ไม่ขับ ไม่เร็ว) ๒ เช็ค (เช็คคน เช็ครถ) จิบสมุนไพรก่อนเดินทาง

๒) ด่านครอบครัว โดยสร้างเงื่อนไขในครอบครัวเพื่อปราศจากแอลกอฮอล์และนำไปสู่ครอบครัวต้นแบบ “สัญญาใจพ่อลูก”

๓) ด่านหมู่บ้าน(มีชีวิต) นำรูปแบบด่าน อบต.สู่หมู่บ้าน

๔) ด่านชุมชนการมีส่วนร่วม(กลุ่มสตรี,รร,รพ.สต,อสม.,อปภร.) สร้างข้อตกลงในชุมชน(ธรรมนูญหมู่บ้าน)

๕) กลุ่มวัยใส ใส่ใจชุมชน

๖) บวรร.(บ้าน,วัด,โรงเรียน,รพสต.)สร้างทีม สร้างกลุ่มอาชีพ

๗) ขอความร่วมมือกับร้านค้าในชุมชน/มาตรการ/ข้อบังคับตำบล

๑) ร้านค้าต้นแบบแบบเพิ่มอีก ๒ ร้าน

๒) MOU ร่วมกับตำบลใกล้เคียงเพื่อลดอุบัติเหตุเป็น ๐ และยั่งยืน

๓) ครอบครัวต้นแบบหมู่บ้านละ ๓ ครอบครัว

 

ลดเมา เพิ่มสุข : ท่องเที่ยวปลอดภัย พักเฝ้าไร่ ๑  คืน อายุยืน ๓ ปี (ทต.เฝ้าไร่) ๑) ตั้งด่านด่านครอบครัวครอบครัว/ด่านชุมชน มีชีวิตตลอดปีมีจุดบริการน้ำสมุนไพร สายตรวจชุมชน ลดอุบัติเหตุ อสม.เตือนภัย และมีหอกระจายข่าวประชาสัมพันธ์

๒) เยาวชนนักรณรงค์ ขอบคุณไม่สูบ ไม่ดื่ม

๓) M0U ๔ ศปง.ปลอดภัยในท้องถนน

๔) สวดมนต์ข้ามปี ๖ วัด (มอบรางวัลให้)

๕) มอบรางวัลให้หมู่บ้านที่อุบัติเหตุเป็น๐

๘) ประกาศนโยบายร่วมกับอำเภอ

๑. อุบัติเหตุเป็น๐ ทุกหมู่บ้าน

 

ลดเมา เพิ่มสุข : วิถีพุทธ คนนาเจริญ

(อบต.นาเจริญ)

๑) สวดมนต์ข้ามปี ๙ วัด /ตุ้มโฮมใหญ่กับถนนสายวัฒนธรรมลดเมา เพิ่มสุข

๒) ปฎิบัติธรรมก่อนสวดมนต์ข้ามปี

๓) ด่านครอบครัว

๔) ด่านชุมชนบริการน้ำสมุนไพรรางจืด,ใบสีดา,ผลไม้ตามฤดูกาลบริการตรงด่าน และส่งคนรักกลับบ้าน (ส่งคนที่เมาในพื้นที่กลับบ้านไม่ให้ขับขี่รถออกนอกพื้นที่)

 

๑) อุบัติเหตุเป็น๐

๒) หมู่บ้านต้นแบบ ๕ หมู่บ้าน

๓) สวดมนต์ข้ามปี เป้าหมาย ๙ วัด

 

 

ลดเมา เพิ่มสุข : หนองบัว ๓ ศูนย์ (อุบัติเหตุ บาดเจ็บ เสียชีวิต)

(อบต.หนองบัว)

๑) สวดมนต์สร้างสุข ๗ วัด

๒) อนุสาวรีย์ป้องกันเตือนภัยเส้น ๒๓๓๖ (ป้ายเตือนภัย/หุ่นเตือนภัย)

๓) มีสปาสมุนไพร บริการน้ำสมุนไพรบริเวณด่านตรวจ

๔) กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน เมาแล้วส่งเพื่อนกลับบ้าน

๕) กิจกรรมพาแลงตุ้มโฮมไร้แอลกอฮอล์ อาหารพื้นบ้าน น้ำสมุนไพร

๖) บ้านวัดปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์มีการรับขวัญลูกหลานที่กลับมาเยี่ยมบ้านช่วงเทศกาล

๑. อุบัติเหตุเป็น ๐ /บาทเจ็บเป็น ๐ /เสียชีวิตเป็น๐

๒. MOU ร่วมกับตำบลใกล้เคียง ๓ ตำบล

 

ลดเมา เพิ่มสุข : เริ่มต้นปีใหม่ บนเส้นทางสุข @ท่ามะปราง

(อบต.ท่ามะปราง)

๑) ด่านครอบครัว โดยให้ต้นแบบครอบครัวต้นแบบเชิญชวนคนที่ดื่ม และเฝ้าระวังไม่ให้เมาแล้วออกนอกบ้าน

๒) สวดมนต์ข้ามปี มีการแสดงกิจกรรมของเด็ก เยาวชน และกิจกรรม MOU ตั้งเป้าปีแห่งความสุข โดยให้คนที่เข้าร่วมเริ่มในการเลิกดื่มในวันสำคัญ ได้แก่งดเหล้าในวันพระ/วันเกิด,งดดื่มเหล้าเข้าพรรษา,เลิกดื่มตลอดปี

๓) ทำงานร่วมกับจิตอาสาในการรณรงค์และเชิญชวนจิตอาสางดดื่มเหล้าในช่วง ๗ วันอันตราย

๔) การรณรงค์ ๔ ม.(ไม่ขับรถเร็ว,ไม่ให้อาหารสัตว์)

๕) ประกวนด่านชุมชนให้หมู่บ้านออกแบบและตั้งด่านชุมชนสร้างสรรค์ ลดเมา เพิ่มสุข

๖) ด่านมีชีวิต

๑) ครอบครัวในพื้นที่ไม่ดื่ม ๑๐๐ ครัวเรือน

๒) จิตอาสางดดื่ม

๓) ลดอุบัติเหตุจากปี่ที่ผ่านมา

๔) MOU ภายในพื้นที่

๕) MOU กับ ๔ ตำบลบนถนนเส้น ๓๒๒๒

 

ลดเมา เพิ่มสุข : ชาววังกรดร่วมใจ ปีใหม่ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ ๑๐๐%

(อบต.วังกรด)

๑) เน้นการป้องกันปลอดภัย จัดการจุดเสี่ยง

๒) ขอความร่วมมือกับร้านค้าห้ามขายเหล้าในช่วง ๗ วันอันตราย

๓) รถประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ โดยกลุ่มแกนนำเยาวชน เน้นประชาสัมพันธ์ในวันสำคัญ

๔) ด่านชุมชน โดยผู้นำชุมชน ยืมหมวกกันน๊อก และสกัดคนเมาให้นอนพักไม่ให้ไปต่อ

๕) MOU ร่วมกับตำบลใกล้เคียงเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุ

๑. อุบัติเหตุเป็น ๐ ตายเป็น ๐ บาทเจ็บเป็น ๐

 

ลดเมา เพิ่มสุข : ท่องเที่ยวสุขใจ ปลอดภัยที่ ศุภะคันธะ

(อบต.ซับจำปา)

๑) ด่านชุมชน ๓ ด่าน มี๑ ด่านเป็นด่านถาวร อีก ๒ ด่านเป็นด่านชุมชน โดยผู้นำชุมชนและ อปพร.

๒) มีน้ำดื่มสมุนไพรดอกจำปีสิรินธร บริเวณด่าน

๓) กิจกรรมท่องเที่ยวปลอดภัยในเขตบริเวณตำบลซับจำปา

๔) จัดการจุดเสี่ยง โดยติดยางล้อรถ

๑) อุบัติเหตุเป็น ๐ ตลอดปี

๒) MOU ร่วมกับตำบลใกล้เคียง ๓ ตำบลเพื่อลดอุบัติเหตุ

 

 

ลดเมา เพิ่มสุข : บ้านกร่างร่วมใจ ปีใหม่ไร้อุบัติเหตุ

(อบต.บ้านกร่าง)

๑) จัดตั้งจุดบริการทั้งสายหลักและสายรอง ๓–๔จุด

๒) การจัดการจุดเสี่ยงจุดอันตรายจำนวน ๑๐ จุด

๓) รณรงค์การสวมหมวกกันน๊อก

๔) บริการให้ดื่มหมวกกันน๊อก

๕) เมาแล้วฝากรถที่อบต.โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในท้องถิ่น

๑) การจัดการจุดเสี่ยงจุดอันตรายจำนวน ๑๐ จุด

๒) รณรงค์การสวมหมวกกันน๊อก ๑๐๐ %

๓) อุบัติเหตุเป็น ๐

 

๑๐ ลดเมา เพิ่มสุข : ทุ่งช้างร่วมใจ ปลอดภัยไร้อุบัติเหตุ

(อบต.ทุ่งช้าง)

๑) การรณรงค์ระดับครอบครัว กีฬารณรงค์ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์ รับสมัครสมาชิกครอบครัวมีรางวัลเป็นหมวกกันน๊อก

๒) ด่านชุมชนทุกหมู่บ้าน โดยเฉพาะหมู่ ๗ (โดยเยาวชนดูแลกัน)มีการปักธงสีแดงบริเวณจุดเสี่ยง

๓) มีเครือข่าย ตชด.ในพื้นที่เข้ามาร่วมดูแล

๔) ระดับตำบลมีการตั้งด่านมีชีวิต

๕) รณรงค์ ๗วันปลอดภัย

๖) เวทีสุขภาพระดับเครือข่ายในตำบลใกล้เคียง

๗) ระดับหน่วยงานองค์กรหัวใจดี ปลอดภัยไร้แอลกอฮอล์

๘)ใช้กลไกครอบครัวลดเมา และ มาตรการใช้หมวกกันน๊อก

๑) อุบัติเหตุเป็น ๐

 

๑๑ ลดเมา เพิ่มสุข : ท่องเที่ยวปลอดภัย ใส่ผ้าไทยที่นาข่า

(ทต.นาข่า)

๑) จุดบริการด่านมีชีวิต/ศูนย์ป้องกันภัยในตำบลและอำเภอตั้งศูนย์ที่เทศบาล

๒) วิเคราะห์จุดเกิดเหตุ และแก้ปัญหา

๓) จัดการจุดเสี่ยง ป้ายทางโค้ง ติดไฟส่องสว่าง /ลูกระนาด

๔) ประชาคมสร้างข้อตกลงร่วมกันลดอุบัติเหตุร่วมกับผู้นำชุมชน

๕) ป้ายเตือนภัยก่อนถึงด่านเป็นระยะๆ

๖) กำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดการจุดเสี่ยง/ตั้งด่าน

๗) ตำบลต้นแบบความปลอดภัยของจังหวัด

๘) เสริมเทคนิคการตั้งด่าน มีการขายผ้า/ร้านกาแฟ บริเวณด่าน

๙) สวดมนต์สร้างปัญญา ลดปัจจัยเสี่ยงข้ามปี

๑๐) แต่งตั้งผู้ติดตามตรวจการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในหมู่บ้านตนเอง พร้อมทั้งตรวจคัดกรองนักดื่มรายใหม่ รายงานผลให้คลินิกเลือกเหล้า เลิกบุหรี่ทุก ๓ เดือน

๑) ทำให้อุบัติเหตุในพื้นที่ลดลง

๒) ป้องกันและลดจำนวนนักดื่มหน้าเก่าและหน้าใหม่ไม่ให้เพิ่มขึ้น

๓) มีชุมชนเข้าร่วม ๔ หมู่บ้านต้นแบบ

๔) มีสถานที่ราชการเข้าร่วม ๖ แห่ง

๕) มีร้านค้าเข้าร่วมโครงการ ๓๐ ร้านค้า

๖) มีร้านค้าไม่ขายเหล้า ๒ แห่ง

๗) มีตลาดปลอดเหล้า ๒ แห่ง

๘) เกิดครอบครัวต้นแบบ ๓๐ ครอบครัว

๙) มีบุคคลต้นแบบ ๔๐ คน (หมู่บ้านละ ๕ คน)

 

๑๒ ลดเมา เพิ่มสุข : หัตถกรรมวิถี ชีวีปลอดภัย ไร้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

(อบต.นาคูณใหญ่)

๑) ด่านครอบครัวดื่มแล้วไม่ให้ออกไปข้างนอก

๒) กิจกรรม อบต.ห่วงหัว ให้ยืมหมวกกันน๊อก

๓) สวดมนต์ข้ามปี

๔) ให้เยาวชนเข้าไปมีส่วนร่วมในด่านแต่ละจุด

๕) เพิ่มป้ายเตือนบริเวณจุดเสี่ยง/ยางรถทาสีลดอุบัติเหตุบนถนนปลอดภัย

๖) ตลาดพักเหนื่อยเพื่อผู้เดินทางสามารถมาชื้อสินค้าและพักรถก่อนเดินทางต่อ

๗) รณรงค์กิจกรรมปีใหม่หน่วยงานไร้แอลกอฮอล์

๘) สวนผักไร้แอลกอฮอล์

๑) อุบัติเหตุลดลงจากปีที่ผ่าน

 

๑๓ ลดเมา เพิ่มสุข : ลดเมา เที่ยวเขา ชมเขื่อน ลดอุบัติเหตุที่เก่าย่าดี

(อบต.เก่าย่าดี)

๑) สวดมนต์ข้ามปีโดยมอบของขวัญปีใหม่ให้

๒) ตั้งป้ายเมาไม่ขับ  ๑๑ จุด

๓) ด่านชุมชนที่ อบต./ด่านบ้านโปงช้าง

๔) น้ำสมุนไพรรางจืด ผลไม้รสเปรี้ยวบตรงบริเวณจุดบริการประจำด่าน

๕) ขอความร่วมมือกับเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง ครู ช่วยเตือนเด็กช่วงเทศกาลเมาไม่ให้ขับขี่

๖) ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ติดป้าย ลดเมา เพิ่มสุข

๗) สร้างเยาวชนต้นแบบ

๘) มีชุดของขวัญให้กับนักท่องเที่ยวที่ปฎิบัติตนเป็นแบบอย่างในการไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

๙) MOU หน่วยงานในจังหวัด ๓๕ หน่วยงานในการรณรงค์ลดเมาลดเหตุ

๑๐) มาเที่ยวที่นี่ เธอจะลืมเมา

๑) สวดมนต์ข้ามปี ๕ วัด

๒) ท่องเที่ยวปลอดภัยอุบัติเหตุเป็น ๐

๓) ลดคนดื่มแอลกอฮอล์ในตำบล จำนวน ๕๐๐ คน

 

 

 

 

 

 


การวิเคราะห์ข้อมูลและการวางแผนการดำเนินงาน

ปฏิบัติการที่ ๑ ข้อมูลสถานะของพื้นที่

 

๑) ข้อมูลทั่วไป

๑.๑ ชื่อ อปท………………………………………………………อำเภอ…………………………………………………จังหวัด……………………………………………..

ผู้ประสานงาน…………………………………………………………………เบอร์โทร……………………………………….อีเมลล์…………………………………………………

๒) ข้อมูลเฉพาะเกี่ยวกับประเด็นแอลกอฮอล์ในพื้นที่

๒.๑ ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเกิดอุบัติเหตุจราจร

ตารางที่ ๑ ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่

คำชี้แจง ให้ใช้ข้อมูลจากระบบข้อมูลตำบล (TCNAP)หรือข้อมูลส่วนอื่นๆของตำบลเช่น รพ.สต., สถานีตำรวจ ข้อมูลจากหมู่บ้าน ใส่ลงในตาราง

ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลกลุ่มเป้าหมายรายหมู่บ้าน รวม

(คน)

ครัวเรือน
๑๐
๑) ดื่มสุราเป็นประจำ                                            
  ๑.๑) อายุผู้ที่มีพฤติกรรมดื่มสุราเป็นประจำ                                            
    ๑.๑.๑) อายุต่ำกว่า ๑๕ ปี                                            
    ๑.๑.๒) อายุระหว่าง ๑๕-๕๙ ปี                                            
    ๑.๑.๓) อายุมากกว่า ๖๐ ปี                                            
  ๑.๒) ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงร่วมกับการดื่มสุราเป็นประจำ                                            
    ๑.๒.๑) ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับสูบบุหรี่เป็นประจำ                                            
    ๑.๒.๒) ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับกินอาหารสุกๆ ดิบๆ                                            
    ๑.๒.๓) ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับขับรถเร็ว ประมาท                                            
    ๑.๒.๔) ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย                                            
    ๑.๒.๕) ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับขับขี่รถยนต์โดยไม่คาดเข็มขัดนิรภัย                                            
    ๑.๒.๖) ดื่มสุราเป็นประจำร่วมกับมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย                                            
๒) ผู้มีพฤติกรรมติดสุราเรื้อรังในชุมชน                                            
๓) ร้านค้าทั้งหมดในพื้นที่                                            
๔) จำนวนยานพาหนะ                                            
๔.๑) จักรยาน                                            
๔.๒) จักรยานยนต์                                            
๔.๓) รถยนต์                                            
๔.๔) พาหนะทางการเกษตร                                            
๔.๔.๑) ระบุ……….                                            
๔.๔.๒) ระบุ……….                                            
๔.๕) อื่นๆ …………                                            

 

ตารางที่ ๒ ข้อมูลพื้นที่จุดเสี่ยงบนท้องถนนในชุมชน

คำชี้แจง ให้นำข้อมูลสถานเส้นทางในพื้นที่ใส่ตารางวิเคราะห์ข้อมูลจุดเสี่ยงบนถนนในพื้นที่

ที่ ประเภทถนน  

 

หมายเลขถนน

(ถ้ามี)

เส้นทางระหว่าง (จุดเริ่มต้นระหว่างตำบลพื้นที่ และสุดสิ้นสุดตำบลข้างเคียง) ความยาว

(กม.)

(ความยาวจากพื้นที่)

สถิติรถผ่าน

(คัน/วัน)สูตรวัดความจุของรถ

ข้อมูลจุดเสี่ยงบนถนนในพื้นที่(จุด) สถิติการเกิดอุบัติเหตุ

(ครั้ง/ปี)

นับตามปีปฏิทิน

จำนวนจุดบริการความปลอดภัย
ทางโค้ง ทางแยก จุดกลับรถ ทางคนข้าม(ทางม้าลาย) ทางที่มีสิ่งกีดขวาง/กำลังก่อสร้าง จุดตัดทางรถไฟ ถนนชำรุด/เป็นหลุม (หลุมที่มีความเสี่ยง) สัญญาณไฟจราจร
มี ไม่มี
๑ ม.ค. ๖๐ ๓๑ ธ.ค.๖๑
ทางหลวงพิเศษ  

 

หนองคาย ถึง โซ่พิสัย ๑๕ กม. ๔๐ คัน ๑๐ ๒๐
ทางหลวงแผ่นดิน
ทางหลวงสัมปทาน

 

                             
ทางหลวงชนบท                              
ทางหลวงเทศบาล                              
ทางหลวงองค์การบริหารส่วนจังหวัด                              
ถนน อบต./หมู่บ้าน                              
อื่นๆ……………

 

 

 

 

                           

 

ตารางที่ ๓ สถานะข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์ที่ผ่านมา (ข้อมูล ช่วง ๗ วันอันตราย วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๙ – ๔ มกราคม ๒๕๖๐)

คำชี้แจง ให้บันทึกสถานะการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ใส่ลงในตาราง

รหัส ๑๓ กลุ่มประชากรเป้าหมาย
๑. เด็ก ๐-๓ ปี ๒. เด็ก ๓-๕ ปี ๓. เด็ก ๖-๑๒ ปี ๔. เยาวชน ๑๓-๒๕ ปี ๕. วัยทำงาน ๑๕-๖๐ ปี ๖. หญิงตั้งครรภ์ ๗. ผู้สูงอายุ
๘. ผู้ป่วยติดเชื้อ ๙. ผู้ป่วยจิตเวช ๑๐. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๑๑. คนพิการ ๑๒. ผู้ต้องการความช่วยเหลือ ๑๓. ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ๑๔.ทุกกลุ่มประชากร
รหัส ประเภทยานพาหนะ
๑. จักรยาน ๒. จักรยานยนต์ ๓. รถยนต์ ๔. รถบรรทุก ๕. อื่นๆ ระบุ…..
ลำดับ วัน/เดือน/ปี ช่วงเวลา รายละเอียดเหตุการณ์ สถานที่เกิดเหตุ ชื่อถนน จุดสำคัญใกล้เคียง ประเภทยานพาหนะ(รหัส ประเภทยานพาหนะ) จำนวนผู้ร่วมเดินทาง จำนวนผู้ประสบเหตุ สถานะ ผู้บันทึก
ช่วงอายุ

(รหัส ๑๓กลุ่มประชากร)

ผู้ประสบเหตุ บาดเจ็บ (จำนวน) เสียชีวิต (จำนวน)
ในพื้นที่ นอกพื้นที่ ไม่ได้ไปรพ. ไปโรงรพ. ที่เกิดเหตุ โรงพยาบาล
 ๒๙ ธ.ค. ๖๐ ๑๙.๓๐ น. รถจักรยานยนต์ชนคน ทางโค้งวัดกลาง คนที่ ๑ (๔) สมนึก
คนที่ ๒(๕)

 

 

ตารางที่ ๔ ทุนทางสังคม ๖ ระดับ รายตำบล ที่ดำเนินงานการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และลดอุบัติเหตุจราจรโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน

คำชี้แจง ให้ใช้ข้อมูลจากการวิจัยชุมชน (RECAP) หรือข้อมูลส่วนอื่นๆของตำบลเช่น รพ.สต., สถานีตำรวจ ข้อมูลจากหมู่บ้าน ใส่ลงในตารางแยกเป็นรายหมู่บ้าน โดยแยกเป็นทุน ๖ ระดับ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

ทุนทางสังคม ทุนทางสังคมรายหมู่บ้าน เรื่อง/กิจกรรมเด่น
๑๐
๑.๑ บุคคลต้นแบบเกี่ยวกับการลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เคยได้รับการเชิดชูในชุมชน                      
    ๑) นางสาวสมศรี  พวงยี่โถ ประธานกลุ่มแม่บ้าน/บุคคลตัวอย่าง
    ๒)                      
  ๑.๒ บุคคลที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนด้านสุขภาพที่มีกิจกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
  ๑.๓ บุคคลที่เป็นแกนนำกลไกการขับเคลื่อนกิจกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
  ๑.๔ บุคคลที่เป็นแกนนำกลไกทางการปกครอง หรือเป็นกลไกในพื้นที่ ที่มีบทบาทในการไกล่เกลี่ย ช่วยเหลือหรือผลักดัน นโยบายหรือกฎกติกาในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๑.๕ บุคลากรบริการด้านสุขภาพที่สามารถส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ได้                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๑.๖ครอบครัวต้นแบบเกี่ยวกับการลดละเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เคยได้รับการเชิดชูในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
    ๒.๑ กลุ่ม/องค์กร อาชีพที่มีบทบาทในการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับกลุ่มผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
    ๒.๒ กลุ่ม/องค์กร ด้านสุขภาพที่มีบทบาทในการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
    ๒.๓ กลุ่ม/องค์กร ด้านสังคมที่มีบทบาทในการสร้างกิจกรรมให้กับกลุ่มผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๒.๔ อื่นๆ                      
                     
    ๓.๑.๑ หน่วยงานที่มีบทบาทการขับเคลื่อนด้านการดูแลสุขภาพให้กับกลุ่มผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๓.๑.๒ หน่วยานที่มีบทบาทการขับเคลื่อนกฎ กติกา หรือนโยบายสาธารณะในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๓.๑.๓ หน่วยงานที่เป็นส่วนสนับสนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๓.๑.๔ หน่วยบริการด้านสุขภาพที่ช่วยส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๓.๒.๑ แหล่งประโยชน์ที่เป็นส่วนสนับสนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
    ๓.๒.๒ แหล่งประโยชน์ที่เป็นส่วนสนับสนับสนุนกิจกรรมด้านการดูแลสุขภาพในการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๓.๒.๓ แหล่งประโยชน์ที่เป็นส่วนสนับสนับสนุนกิจกรรมในการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๔.๑ ชุมชน/หมู่บ้านต้นแบบ หรือมี กฎ กติกา ชุมชน/หมู่บ้านที่ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๔.๒ ชุมชน/หมู่บ้านศีล ๕                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๔.๓ ร้านค้าที่มีการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่                      
    ๑)                      
    ๒)                      
    ๕.๑กฎ กติกา ข้อบัญญัติ หรือ นโยบายสาธารณะ ที่ทำร่วมระดับตำบลที่ควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน                      
    ๑)                      
    ๒)                      
    ๕.๒กฎ กติกา หรือข้อบัญญัติ ของกลุ่ม/องค์กร ในควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนที่ทำร่วมกันตั้งแต่ ๒ หมู่เป็นต้นไป                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๖. ระดับเครือข่าย (ระบุตำบลที่เกี่ยวข้อง)                      
๖.๑กลุ่ม/องค์กร/หน่วยงาน หรือกฎ กติกา หรือข้อบัญญัติ ในควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำกิจกรรมร่วมกับตำบลอื่น ๆ                      
    ๑)                      
    ๒)                      
๖.๒ กฎ กติกา หรือข้อบัญญัติ หรือ นโยบายสาธารณะ ในระดับเครือข่าย อำเภอ หรือจังหวัดควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์                      
    ๑)                      
    ๒)                      


 

ปฏิบัติการที่ ๒ การออกแบบการดำเนินงาน

      

ตารางที่ ๕ แนวทางการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี ๒๕๖๑

คำชี้แจง สรุปข้อมูลปัญหาและความต้องการในพื้นที่ เพื่อสร้างรูปแบบแนวทางของกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่หรือกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการรณรงค์ในพื้นที่

แผนกิจกรรมการรณรงค์ กิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย(Audience) จำนวนเป้าหมาย ผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมรณรงค์ (Key actor) ระยะเวลาดำเนินการ งบประมาณ
ท้องถิ่น

(ระบุตำแหน่ง)

ท้องที่(ระบุตำแหน่ง) หน่วยงาน(ระบุ) กลุ่มองค์กร หน่วยงานภายนอก(ระบุ) อปท. สสส.
๑) ระดับครอบครัว
๑.๑ ……………….
๑.๒ ……………….
๑.๓ ……………….
๒) ระดับกลุ่มทางสังคมและแหล่งการเรียนรู้
๒.๑ ……………….
๒.๒ ……………….
๒.๓……………….
๓) ระดับหมู่บ้าน / ชุมชน
๓.๑ ……………….
๓.๒ ……………….
๓.๓ ……………….
๔) ระดับหน่วยงาน
๔.๑ ……………….
๔.๒ ……………….
๔.๓ ……………….
๕) ระดับตำบล
๕.๑ ……………….
๕.๒ ……………….
๕.๓

……………….

๖. ระดับเครือข่าย
๖.๑

……………….

๖.๒

……………….

๖.๓

……………….


 

ปฏิบัติการที่ ๓ การรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ในช่วงเทศกาลปีใหม่

 

ตารางที่ ๖ รายงานผลการดำเนินงานในพื้นที่ (ข้อมูล ช่วง ๗ วันอันตราย วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ – ๔ มกราคม ๒๕๖๑)

คำชี้แจง ให้บันทึกสถานะการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ใส่ลงในตาราง โดย จัดทำเอกสารเป็นรายวันให้กับจุดบริการที่ต้องการเก็บข้อมูลแล้วนำมารวบรวมเพื่อจัดทำบันทึก

รหัส ๑๓ กลุ่มประชากรเป้าหมาย
๑. เด็ก ๐-๓ ปี ๒. เด็ก ๓-๕ ปี ๓. เด็ก ๖-๑๒ ปี ๔. เยาวชน ๑๓-๒๕ ปี ๕. วัยทำงาน ๑๕-๖๐ ปี ๖. หญิงตั้งครรภ์ ๗. ผู้สูงอายุ
๘. ผู้ป่วยติดเชื้อ ๙. ผู้ป่วยจิตเวช ๑๐. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ๑๑. คนพิการ ๑๒. ผู้ต้องการความช่วยเหลือ ๑๓. ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ๑๔.ทุกกลุ่มประชากร
รหัส ประเภทยานพาหนะ
๑. จักรยาน ๒. จักรยานยนต์ ๓. รถยนต์ ๔. รถบรรทุก ๕. อื่นๆ ระบุ……
ลำดับ วัน/เดือน/ปี ช่วงเวลา รายละเอียดเหตุการณ์ สถานที่เกิดเหตุ ชื่อถนน จุดสำคัญใกล้เคียง ประเภทยานพาหนะ(รหัส ประเภทยานพาหนะ) จำนวนผู้ร่วมเดินทาง จำนวนผู้ประสบเหตุ สถานะ ผู้บันทึก
ช่วงอายุ

(รหัส ๑๓กลุ่มประชากร)

ผู้ประสบเหตุ บาดเจ็บ (จำนวน) เสียชีวิต (จำนวน)
ในพื้นที่ นอกพื้นที่ ไม่ได้ไปรพ. ไปโรงรพ. ที่เกิดเหตุ โรงพยาบาล
 ๒๙ ธ.ค. ๖๐ ๑๙.๓๐ น. รถจักรยานยนต์ชนคน ทางโค้งวัดกลาง คนที่ ๑ (๔) สมนึก
คนที่ ๒(๕)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

             

 

 

 

 

[1]ผู้ที่เคยดื่มแล้วอยากเลิกดื่ม