ภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย (บีบหยา)
“…ในสมัยพุทธกาลมีหมอรักษาโรคท่านหนึ่ง ชื่อว่า ‘เจ่หว่าก๊ะ’ กล่าวว่าเป็นหมอเทวดาที่สามารถยื้อความตายจากยมบาลได้ ทุกคนที่หมอท่านนี้ให้การรักษาจะต้องหาย ต่อมาเกิดเหตุการณ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประชวรเพราะฉันอาหารผิดสำแดง
“…ในสมัยพุทธกาลมีหมอรักษาโรคท่านหนึ่ง ชื่อว่า ‘เจ่หว่าก๊ะ’ กล่าวว่าเป็นหมอเทวดาที่สามารถยื้อความตายจากยมบาลได้ ทุกคนที่หมอท่านนี้ให้การรักษาจะต้องหาย ต่อมาเกิดเหตุการณ์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประชวรเพราะฉันอาหารผิดสำแดง
แม้จะเป็นเพียงโรงเรียนเล็กๆ ที่มีเด็กทั้งหมด 216 คน แต่โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองปอน โรงเรียนเก่าแก่ซึ่งก่อตั้งในปี 2446 แห่งนี้ ยังเป็นศูนย์รวมของเด็กจากหมู่บ้านต่างๆ ในตำบล เหตุเพราะที่นี่เป็นโรงเรียนขยายโอกาสเพียงแห่งเดียวในพื้นที่
ตรงข้ามกับหมู่บ้านเมืองปอน ฝั่งนี้ภูมิประเทศเป็นเทือกเขา ดินแห้งแข็ง ขาดน้ำ หลายจุดยังเป็นหินอยู่เลย แต่ถึงกระนั้น เราก็ได้เห็นรอยยิ้มผลิพรายบนใบหน้าของ ร้อยตรีบุญยศ ผอนวล ข้าราชการทหารผู้ออกราชการก่อนกำหนดมาตั้งแต่ปี 2555 แล้วหันมาเป็นเกษตรกร
หลังจากพูดคุยเรื่องเหมืองฝาย เราตาม สุวิทย์ วารินทร์ อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองปอนมายังไร่นาสวนผสมขนาด 11 ไร่ เลาะเลียบถนนหลังโรงเรียนชุมชนบ้านเมืองปอน ที่มีลำเหมืองขนาบขนานไปตลอดเส้นทาง
ข้างๆ วัดเมืองปอน มีร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ร้านหนึ่ง ตั้งตู้อยู่ใต้ชายคาของเรือนไม้เก่า เตาถ่านที่กำลังแดงร้อนคอยเคี่ยวกรำน้ำให้เดือดปุด ข้างเตามีผักกาดหั่นเป็นชิ้นน้อยแช่น้ำอยู่ ในตู้มีหมูต้ม ตอนนั้นเป็นช่วงพักเที่ยง ลูกค้ากำลังเข้า เราเองก็เช่นกัน
ภายในบริเวณวัดอันร่มรื่นบนถนนขุนปอนสถิต ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ และศาลาอเนกประสงค์ โดยภายในอุโบสถมีพระประธาน และภาพวาดศิลปะพม่า
เราเดินทางขยับออกมายังบ้านหมู่ที่ 2 บ้านเมืองปอน เพื่อมาดูงานหัตถกรรมอย่างหนึ่งของคนไทใหญ่ ทันทีที่รถลัดเลาะเข้ามายังรั้วบ้าน องปุ้น ไชยวิฑูรย์ ชายสูงวัยผู้เป็นเจ้าของบ้านก็ออกมาต้อนรับ
เราอยากบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอาหาร ซึ่งเหมือนเป็นประตูสู่วัฒนธรรมของคนทุกเชื้อชาติ มีเอกลักษณ์มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป เราเลยอยากบอกเล่าเรื่องราวอาหารของคนไทใหญ่ เลยขอให้ ฟองจันทร์ ศิริน้อย หรือ ครูอู๊ด เล่าให้ฟัง
จุดเริ่มต้นของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารดอกเอื้องงามมาจากกล้วย ตามต่อมาด้วยอะไรต่อมิอะไรอีกมาก สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ที่สำคัญยังเป็นหนึ่งฐานการท่องเที่ยวประจำบ้านเมืองปอนด้วย
เสื้อไตของคนไทใหญ่ ถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งที่มีความโดดเด่น ด้วยพันผูกกับวิถีชีวิตของคนที่นี่ และในปัจจุบันได้กลายเป็นเศรษฐกิจชุมชนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน ปีๆ หนึ่งไม่น้อยกว่า 700,000 บาทเลยทีเดียว