สถานการณ์ ๑๐ ประเด็นปัญหาสุขภาวะชุมชนภาคเหนือ ใน ‘๑๓ กลุ่มประชากร’

สถานการณ์ ๑๐ ประเด็นปัญหาสุขภาวะชุมชนภาคเหนือ ใน ‘๑๓ กลุ่มประชากร’

ภาพรวมสถานการณ์ ๑๐ ประเด็นปัญหาสุขภาวะชุมชนที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ จาก
งาน ‘เวทีข่วงฮอมผะญ๋าล้านนา สู่นวัตกรรมการจัดการตนเองอย่างยั่งยืน’ เมื่อวันที่
๒๕-๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ โรงแรมเฮอริเทจ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

เป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนสุขภาวะชุมชน คือการสร้างความสุขและคุณภาพชี
วิตที่ดีให้เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มประชากรทั้ง 13 กลุ่ม คือ
เด็ก ๐-๒ ปี, เด็ก ๓-๕ ปี, เด็ก ๖-๑๒ ปี, เด็กและเยาวชน, หญิงตั้งครรภ์, กลุ่มวัยทำงาน,
ผู้สูงอายุ (๖๐ ปีขึ้นไป), ผู้ป่วยเอดส์, ผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง, ผู้ด้อยโอกาส, คน
พิการ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย

จากการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชน ด้วยระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน
(RECAP) เพื่ออธิบายสถานการณ์ ๕ ด้านของชุมชน อันได้แก่ สังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ
สิ่งแวดล้อม และการเมืองการปกครอง รวมถึงศักยภาพของชุมชนจากงานบริการและ
กิจกรรมของทุนทางสังคมทั้งหมด จะสามารถวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ออกมาเป็นวิธีการขับ
เคลื่อนสุขภาวะชุมชนใน ๑๐ ประเด็น ดังนี้

๑. การพัฒนาคุณภาพผู้สูงอายุ ด้วยวิธี ๕ อ. (อาหาร ออม อาชีพ ออกกำลังกาย อา
สาสร้างเมือง) และ ๕ ก. (การตั้งและพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุ การป้องกันและลดอุบัติ
เหตุ การพัฒนาชมรมผู้สูงอายุ การบริการกายอุปกรณ์ การดูแลต่อเนื่อง)

๒. การดูแลเด็กปฐมวัยในชุมชน ด้วยการพัฒนาหลักสูตร กิจกรรม สื่อ ส่งเสริมการเล่น
จัดอาหารที่ถูกสุขลักษณะ พัฒนาข้อบัญญัติเพื่อดูแลช่วยเหลือเด็กปฐมวัย ปรับสภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และสร้างความปลอดภัย พัฒนาศักยภาพครูและพี่เลี้ยง

๓. การเฝ้าระวังความรุนแรงในครอบครัว ด้วยการสนับสนุนการดูแลช่วยเหลือในครอบ
ครัว ตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยปัญหาครอบครัว จัดหาที่พักพิงชั่วคราวและประสาน
ความช่วยเหลือ สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ และจัดกิจกรรมอบรมพัฒนา
ครอบครัว

๔. การจัดการขยะ ด้วยการจัดทำข้อมูลการจัดการขยะ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทค
โนโลยี ส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร จัดตั้งกองทุนขยะ รณรงค์การจัดการ
ขยะมูลฝอย การคัดแยก การรีไซเคิล และกำหนดวาระสาธารณะ กฎ กติกาการจัดการ
ขยะมูลฝอย

๕. การจัดการภัยพิบัติ ด้วยการจัดทำข้อมูลสถานการณ์การเกิดภัยพิบัติโดยใช้ระบบข้อ
มูลตำบล จัดทำแผนปฏิบัติการภัยพิบัติเพื่อรับมือ พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมทักษะ
ต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์จัดการภัยพิบัติ และจัดตั้งกองทุนส่งเสริมอาชีพ

๖. การดูแลสุขภาพในชุมชน ด้วยวิธีจัดทำและใช้ฐานข้อมูลชุมชน สร้างและพัฒนา
อาสาสมัครในการดูแลกลุ่มเป้าหมาย สร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ สนับสนุ
นการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน และจัดทำแผนที่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วย
เหลือดูแล

๗. การจัดการอาหารในชุมชน โดยการพัฒนาและใช้ข้อมูลเพื่อเกษตรและอาหารชุม
ชนปลอดภัย พัฒนาศักยภาพและกลไกการขับเคลื่อนการเกษตรและอาหารชุมชน
พัฒนาแผนการเกษตรและอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน พัฒนาบริหารจัดการ
กองทุนและจัดระบบสวัสดิการ รณรงค์เพื่อการพัฒนาและอาหารชุมชนปลอดภัย

๘. การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่า อาชีพหลักของชาวชุม
ชน คืองานบริการและงานรับจ้างทั่วไป รองลงมาคือการทำนา เป็นพนักงานเอกชน
และค้าขาย นอกจากนี้ ยังพบว่าในชุมชนมีครัวเรือนที่มีหนี้สินมากถึง ๔๙.๑๕% โดยสา
เหตุอันดับหนึ่งของการเกิดหนี้สิน คือการเกษตร ตามด้วยการศึกษาของบุตร ค่าใช้จ่าย
ด้านอาหาร และการซื้อยานพาหนะ

๙. การควบคุมการบริโภคยาสูบและสารเสพติด ด้วยการเพิ่มคนต้นแบบ เพิ่มพื้นที่สูบ
บุหรี่ สร้างคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ เพิ่มกติกาทางสังคม และบังคับใช้กฏหมาย

๑๐. การลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอุบัติเหตุจราจร ด้วยวิธีรณรงค์และ
ประชาสัมพันธ์ บังคับใช้กฎหมายและมาตรการทางสังคม จัดสภาพแวดล้อม เสริมสร้าง
ศักยภาพทักษะแก่บุคคลและครอบครัว และสร้างนวัตกรรมช่วยเลิกในชุมชน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุข
ภาวะชุมชน สำนัก ๓ สสส.

#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส