“สถาน” เรียนรู้บทเรียนคลัสเตอร์ใหญ่ เตรียมเปิดศูนย์พักคอยในตำบล รอรับผู้ป่วยทะลัก

พื้นที่เทศบาลตำบลสถาน .เชียงราย นับว่าเผชิญกับคลัสเตอร์ใหญ่ในช่วงเดือนมิถุนายนถึง 2 ครั้ง จากการนำเชื้อเข้ามาในหมู่บ้านของผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงสีแดง ทำให้เกิดสถานการณ์แพร่ระบาดในระดับครัวเรือน ญาติพี่น้อง จนต้องมีการกักตัวกลุ่มความเสี่ยงสูงที่มีจำนวนมาก

นายประเสริฐ  สมทะนะ กำนันตำบลสถาน .เชียงของ จ.เชียงราย กล่าวถึง  สถานการณ์ในพื้นที่ตำบลสถานที่ผ่านมาต้องเจอคลัสเตอร์ใหญ่ๆ 2 เคส  ติดเชื้อโควิดกันในกลุ่มครอบครัว และทำให้มีกลุ่มเสี่ยงสูงจำนวนมาก  โดยสาเหตุหลัก คือมาจากคนนอกพื้นที่นำเชื้อเข้า เช่น เชียงราย และจากกรุงเทพฯ ที่กลับเข้ามา

ที่ผ่านมาเรียกว่าเราเผชิญกับคลัสเตอร์ใหญ่  จากผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง จนทำให้เกิดกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ กว่า 50 ราย  ซึ่งเราได้มีการเรียกประชุมผู้นำชุมชนทุกหมู่บ้าน ประธาน อสม.  รพ.สต. และเทศบาล มาหาแนวทาง โดยมีมติให้กลุ่มเสี่ยงกักตัวในชุมชน  ทั้งตำบลเราจะระดมทรัพยากร กำลัง บุคลากรมาดูแลกัน โดยเราตั้งศูนย์ดูแลกันหน้าหมู่บ้าน  ตั้งกองบัญชาการกันที่หมู่บ้านที่ติดเชื้อโควิดตรงนั้นเลย เพื่อดูแลคนที่กักตัว หรือคนที่สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งมีจำนวนมาก เราดูแลพวกเขาทั้งหมด มีการเปิดรับบริจาค ข้าว ปลา อาหาร เพื่อดูแลกลุ่มคนในหมู่บ้านที่กักตัว

ขณะที่การทำงานเพื่อควบคุมป้องกันการระบาดของเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่ กำนันประเสริฐ กล่าวว่า ตั้งแต่การแพร่ระบาดในช่วงเดือน มิ..ได้มีการประชุม 4 องค์กรหลัก เพื่อหามาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาด และการมาตรการเชิงรุก โดยท้องที่ได้ทำงานร่วมกับ รพ.สต. อสม. ท้องถิ่นโดยเทศบาล รวมทั้งในส่วนของอำเภอก็มาร่วมกันประชุมหาแนวทาง

เบื้องต้นมีมติร่วมกันคือ  การขอความร่วมมือคนนอกที่จะเข้ามาในพื้นที่  ถือว่าเป็นการขอร้องกัน ไม่ว่าจะเป็นคนจากจังหวัดไหน เสี่ยง หรือ ไม่เสี่ยง ก็เลี่บงเข้ามาในพื้นที่ในช่วงนี้  แต่หากกรณีจำเป็น ต้องเข้ามาก็ต้องปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด นั่นคือ  กรณีที่ 1  คือ กลุ่มที่มาจากพื้นที่สีแดงทุกจังหวัด ต้องไปรายงานตัวโดยตรงที่ รพ.สต. โดยรพ.สต.จะดำเนินการ นำตัวไปสวอป ที่ รพ. หากว่าติดเชื้อก็เข้าสู่กระบวนการรักษา หากไม่ติดก็ต้องมากักตัว และต้องปฎิบัติตัวตามกฎของการกักตัวที่บ้าน กรณีที่ 2 บุคคลที่ขอเข้ามาจากพื้นที่้ทั่วไป  ก็จะต้องมีการรายงานล่วงหน้า ผู้นำในพื้นที่ อสม. ไม่ต่างจากผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่สีแดง  โดยขั้นตอน  และจะมีการคัดกรอง สืบสวนโรค และส่งข้อมูลไปยัง รพ.สต. และจะมีการรายงานข้อมูลเข้าแอปสบายดีเชียงของ ซึ่งจะเป็นเหมือนข้อมูลกลางของตำบล เพื่อที่จะได้มีข้อมูลชุดหนึ่งให้คนทำงานในพื้นที่และติดตามความเคลื่อนไหว อัปเดตสถานการณ์

ส่วนการดูแลผู้ที่ต้องกักตัวกำนันประเสริฐเปิดเผยว่า   ท้องที่ มีหน้าที่เฝ้าระวัง เวรยาม ท้องถิ่นก็เข้ามาสนับสนุน ทั้งงบประมาณ หรือ อุปกรณ์ป้องกันโควิดต่างๆ  ขณะที่ อสม.และ รพ.สต. จะเป็นผู้ติดตามตามระบบ ในระหว่างที่เขาไปกักตัวที่บ้าน ซึ่งในส่วนนี้ ครอบครัวจะทำหน้าที่ดูแลเป็นหลัก พูดคุยทำความเข้าใจกัน และหากฝ่าฝืน จะถูกตักเตือน ซึ่งโชคดีว่า กลุ่มที่กักตัว ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังพบคลัสเตอร์ลักษณะแบบเดียวกันอีกใน หมู่ที่ 7 โดยมีผู้ติดเชื้อไป 5 ราย กักตัวกลุ่มเสี่ยงอีก 80 รายจนระดมกำลังมาช่วยกันทำงานอีกครั้ง

“ 2 คลัสเตอร์ใหญ่ที่เราต้องเผชิญ สร้างความตระหนัก ให้ชาวบ้านเป็นอย่างมาก ซึ่งเราจะยกตัวอย่างทั้ง 2 กรณี คอยเตือนกัน ขณะที่พวกเราในฐานะผู้นำหมู่บ้าน เราใช้ทุกช่องทางในการประชาสัมพันธ์ ทั้งพูดคุย ทำความเข้าใจกัน เสียงตามสายประจำหมู่บ้านทุกวัน  ไม่เคยขาดเรื่องนี้ พูดกันทุกวัน ย้ำกันทุกวัน เพราะความรู้คือสิ่งสำคัญที่สุดในการต่อสู้กับโควิด เพื่อที่จะนำไปป้องกันตัวเองให้รอดปลอดภัย ซึ่งนับว่าสถานการณ์ล่าสุดในขณะนี้ในพื้นที่ของเรายังไม่มีการติดเชื้อ เรายังคุมปราการในพื้นที่เราเอาไว้ได้ โดยหลักคือ การขอร้องไม่ให้คนนอกพื้นที่เดินทางเข้ามาก่อน หรือ ถ้าจำเป็นจริงๆก็ต้องผ่านระบบที่เราได้วางไว้ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของคนในชุมชน และไม่ซ้ำรอยเหตุการณ์คลัสเตอร์ใหญ่ที่เราเผชิญกันมาในช่วงเดือน มิ..ที่ผ่านมา

กำนันประเสริฐ  ระบุด้วยว่า ในอำเภอเชียงของตอนนี้ได้มีจุดพักคอย รับเฉพาะผู้ป่วยสีเขียว ที่โรงแรมฟอร์จูน ริเวอร์วิว เชียงของ ซึ่งมีเตียงรองรับประมาณ70 เตียง  ซึ่งจะให้พักประมาณ 10 วัน เมื่อแพทย์อนุญาตว่าอาการดีขึ้นแล้ว อีก 4 วันจะต้องกลับไปพักที่บ้านโดยในส่วนนี้เบื้องต้นต้องจัดหาพื้นที่กักตัวกลางไว้รองรับพร้อมทั้งสร้างความเข้าใจกับคนในชุมชนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะตามมาในภายหลังได้

วันนี้เรามีการหารือกัน ถึงแนวทางการเปิดศูนย์พักคอยแต่ละตำบลด้วย เพื่อรองรับผู้ป่วยสีเขียว และกระจายความแออัดจากโรงพยาบาลในจังหวัด ซึ่งสถานการณ์ขณะนี้เรียกว่าเต็มมือแล้ว เขาจึงตัองผลักดันผู้ป่วยสีเขียวออกมายังอำเภอ ซึ่งเราในส่วนท้องถิ่น ได้วางแนวทางของการเปิด LQ 5 จุด โดยมี 5 รพ.สต. ในพื้นที่ รับผิดชอบ เพื่อรองรับ การล้นทะลักของผู้ป่วยที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะเท่าที่ทราบ จุด LQ แรกที่ รร.ฟอร์จูนฯ เปิด 2 วัน มีคนไข้แล้วกว่า 30 คน ซึ่งเราประเมินแล้วว่าจะมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากทยอยเข้าพื้นที่

#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#ชุมชนเข้มแข็ง
#สสส
#ชุมชนท้องถิ่น รู้รับ ปรับตัว