บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “ขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย”

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย” ภายใต้โครงการขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย วันพฤหัสบดีที่ ๒๘ กันยายน ..๒๕๖๐  ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

อำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ..๒๕๓๗ มาตรา ๖๖, ๖๗ และ ๖๘ หรือ พระราชบัญญัติเทศบาล ..๒๔๙๖ มาตรา ๕๐, ๕๑ (เทศบาลตำบล) และมาตรา ๕๓, ๕๔ (เทศบาลเมือง) มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นอันนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของพลเมืองในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตน โดยการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกับสมาชิกในชุมชนท้องถิ่นในการทำให้เกิดระบบอาหารชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

พันธกิจของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และพันธกิจของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ) มีเป้าหมายเดียวกันคือ การเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายทั่วทุกพื้นที่ ทั้ง หน่วยงาน จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาขีดความ สามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมีสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายและจัดการเรียนรู้การพัฒนา ด้วยการขับเคลื่อนเครือข่ายพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย

ด้วยพันธกิจ อำนาจหน้าที่ เป้าหมาย และข้อตกลงความร่วมมือ ที่กล่าวมาข้างต้นพร้อมกับเจตจำนงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการขอรับการสนับสนุนเพื่อการดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาระบบอาหารชุมชน เพื่อสร้างความเข้าใจสาระความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาระบบอาหารชุมชนและแนวทางการพัฒนาระบบที่มีความครอบคลุมทุกด้านของปัญหาและความต้องการรวมถึงการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องจากที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของ ฝ่าย เพื่อ ขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัยดังนี้

ฝ่ายที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ฝ่ายที่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ที่มีกลไกการขับเคลื่อนได้แก่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการเกษตร (ศบกต.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท้องที่ (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) ปราชญ์ชุมชนด้านการเกษตรกรรม และแกนนำเกษตรกรในพื้นที่ โดย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง เป็นแกนนำการขับเคลื่อนหลัก

ฝ่ายที่ ศูนย์ขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย (สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก) โดย นางศรีพันธุ์ พุทธรักษ์ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย

ฝ่ายที่ ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง โดย นายอิทธิพล ฟ้าแลบ นักวิชาการศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง

มีสาระสำคัญประกอบด้วย ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ บทบาทหน้าที่ของทั้ง ฝ่าย และส่วนที่ ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบอาหารชุมชนดังนี้

ส่วนที่ บทบาทหน้าที่ของทั้ง ฝ่าย

. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก ) เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนงบประมาณผ่านโครงการขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย ที่มีสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมการรณรงค์และผลักดันนโยบายการขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย

. องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินการพัฒนาระบบอาหารปลอดภัยชุมชน ด้วยการดำเนินงาน ชุดกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย

ชุดกิจกรรมที่ เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการทำงานของ ศบกต. ที่มีความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาให้เกิดระบบการผลิตอาหารปลอดภัยในตำบล

ชุดกิจกรรมที่ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างอาหารปลอดภัย ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการตลาด

ชุดกิจกรรมที่ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมในตำบลเพื่อสามารถนำใช้ในการออกแบบและกำหนดนโยบายท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ชุดกิจกรรมที่ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาเกษตรในตำบล

. ศูนย์ขับเคลื่อนพิษณุโลกเมืองอาหารปลอดภัย ทำหน้าที่สนับสนุนวิชาการ จัดการเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรมการพัฒนาระบบอาหารชุมชน รวมถึงพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่าย และกำกับติดตามให้การดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเครือข่ายเป็นไปอย่างได้ผล

. ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่ายพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ทำหน้าที่หนุนเสริมทางวิชาการและกำกับติดตามให้มีการดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติการและเป้าหมายที่ได้กำหนดร่วมกับสำนัก

ส่วนที่ ตัวชี้วัดการพัฒนาระบบอาหารชุมชน

. การพัฒนาและนำใช้ข้อมูลเพื่อการเกษตรและอาหารชุมชนปลอดภัย มีระบบข้อมูลตำบลด้านการเกษตรและอาหารปลอดภัยที่นำใช้ในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของคนในพื้นที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้ทั้งในพื้นที่และข้ามพื้นที่ มีเวทีในการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการพัฒนาระบบอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งร่วมกันของภาคีเครือข่าย

. การพัฒนาศักยภาพของกลไกการขับเคลื่อนการเกษตรและอาหารชุมชน มีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบลเป็นศูนย์ประสานงาน ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีของพื้นที่มีการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน เกษตรอาสา หรืออาสาสมัครให้มีบทบาทในการพัฒนาการเกษตรและอาหารปลอดภัยของพื้นที่มีการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิชาการเกษตรหรือบุคลากรของ อปท. ให้สามารถสร้างรูปธรรมขับเคลื่อนระบบเกษตรกรรมยั่งยืนสู่อาหารปลอดภัยในพื้นที่ตาม ชุดกิจกรรม มีการพัฒนากลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยั่งยืนและอาหารปลอดภัยในพื้นที่ให้มีขีดความสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้และมีปฏิบัติการที่สร้างรูปธรรมตาม ชุดกิจกรรม

. การพัฒนาแผนการเกษตรและอาหารชุมชนโดยใช้พื้นที่เป็นฐานมีแผนพัฒนาการเกษตรและอาหารปลอดภัยของตำบล โดยการมีส่วนร่วมของ ภาคีในพื้นที่ มีข้อบัญญัติท้องถิ่นและแผนงบประมาณในการสนับสนุนการทำเกษตรกรรมเพื่อสร้างอาหารปลอดภัยในชุมชน

. การพัฒนาบริหารจัดการกองทุนและการจัดระบบสวัสดิการมีองค์กรด้านการเงินหรือระบบสวัสดิการที่มีอยู่ในชุมชนพัฒนากฎ ระเบียบ กติกา หรือเงื่อนไขพิเศษให้กับบุคคลหรือองค์กรในชุมชนได้พัฒนาระบบอาหารเพื่อสุขภาวะมีการจัดตั้งกองทุนและหรือจัดระบบสวัสดิการสนับสนุนครอบครัวเกษตรกรผู้ทำเกษตรเพื่ออาหารปลอดภัย ผู้ผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน หรือกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องในชุมชนมีระบบสวัสดิการให้กับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น ผู้สูงอายุ เด็กและเยาวชน ผู้ด้อยโอกาสในชุมชนให้เข้าถึงอาหารปลอดภัยได้

. การรณรงค์เพื่อการเกษตรและอาหารชุมชนปลอดภัยมีการสร้างการพึ่งตนเองด้านอาหารจากการเกษตรในระดับครอบครัวมีการรณรงค์ให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่นำไปสู่การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันและจัดการโรค

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ ได้จัดทำขึ้นเป็นจำนวน ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน ทุกฝ่ายได้อ่านและเข้าใจข้อความในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้โดยตลอดแล้ว จึงลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน และแต่ละฝ่ายต่างถือไว้ฝ่ายละฉบับ