เวที “ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นสร้างความมั่นคงทางอาหารและพันธุกรรม”

30 ส.ค. – 3 ก.ย. 2560 พบกับเวที “ภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นสร้างความมั่นคงทางอาหารและพันธุกรรม” ในโซนภูมิปัญญา (Wisdom) มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ณ ฮอลล์ 6 – 8 และห้องประชุมฟีนิกซ์ 1 – 6 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กิจกรรมในเวทีประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ
1) แสดงและสาธิต การสร้างความมั่นคงทางอาหารและพันธุกรรมผ่านทุนทางสังคมและแหล่งเรียนรู้ของชุมชนท้องถิ่น 2 เรื่อง คือ
> ‘ภูมิปัญญาอาหาร 4 ภาค’ (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง และภาคใต้) ประกอบด้วย องค์ประกอบการเข้าถึง วิธีการผลิต
ประโยชน์
> ชุมชนท้องถิ่นจัดการพันธุกรรม ประกอบด้วย การอนุรักษ์พันธุ์
การคัดพันธุ์ การปรับปรุงบำรุงพันธุ์ และการส่งเสริม
2) เผยแพร่และแสดงสินค้า จากภูมิปัญญาและพันธุกรรมจากชุมชนท้องถิ่น
3) มุมชวนคิดชวนคุย เรื่องภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นสร้างความมั่นคงทางอาหารและพันธุกรรม

————————————————————————————–
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) มีบทบาทในการสนับสนุน กระตุ้น และจุดประกาย ภาคีสร้างเสริมสุขภาพ อันประกอบด้วย อปท. สถาบันวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรชุมชน
และหน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชา
ชนทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ โดยมีเป้าหมาย “ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ (Healthy Communities)” ภายใต้ 2 หลักการ คือ 1) ใช้พื้นที่เป็นฐานในการพัฒนา (Area-Based Development-ABD) และ 2) คำนึงถึงสุขภาพในทุกนโยบายของชุมชนท้องถิ่น (Health in All Policies-HiAP)

จากปฏิญญาเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ที่ประกอบด้วยนโยบายสาธารณะ 8 ประเด็น ซึ่งเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ตกลงขับเคลื่อนและดำเนินการร่วมกัน และหนึ่งในนั้นมีข้อเสนอ (ปฏิบัติการ) ในประเด็นเกษตรกรรมยั่งยืนที่สอดคล้องและเป็นไปตามรายละเอียดในการจัดมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 14 ที่มีผู้รับผิดชอบหลักคือกรมการแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นภาคียุทธศาสตร์ของแผนสุขภาวะชุมชน กำหนดประเด็นในการจัดเวทีมี 2 เรื่องหลักคือ ภูมิปัญญาอาหาร 4 ภาค และ ชุมชนท้องถิ่นจัดการพันธุกรรม ซึ่งพบว่าเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่มีรูปธรรม แนวคิด และวิธีการที่โดดเด่นสามารถแสดงและเผยแพร่ให้กับภาคีเครือข่ายกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และองค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งภายในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นปรับใช้ต่อไปได้